ความรู้ด้านสุขภาพจิตที่มีการค้นหาบ่อย และน่าสนใจ

ภายใน Blog นี้ มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากมายจำนวนหลายร้อยบทความ

บางบทความนั้นเป็นที่นิยมและค้นหาได้ง่ายโดยใช้ Keywords ค้นจาก Google หรือแม้แต่ค้นหาจากช่องค้นหาด้านบนขวาของ Blog นี้เอง บทความเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ปรากฎภายใต้หัวข้อ “บทความยอดนิยม”  ใน Menu ทางด้านขวามือของ Blog นี้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม มีบทความอื่นๆที่มีประโยชน์และมีผู้นิยมอ่านเช่นกัน ทีมงานจึงขอแนะนำบทความดังกล่าวข้างล่างนี้

บทความแนะนำ

โรคประหม่ากังวลต่อหน้าสังคม

วิธีรักษา “นอนไม่หลับ” โดยไม่ใช้ยานอนหลับ

20 คำถามที่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของคุณ

อะไรคือโรคจิต

โรคจิต/โรคประสาท

จิตแพทย์คือใคร ต่างจากนักจิตวิทยาอย่างไร

เมื่อไรจึงควรไปพบจิตแพทย์

อาการขนาดไหนกันถึงควรไปพบจิตแพทย์

เหตุผลที่เราควรไปพบจิตแพทย์

คนสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไร อย่างไรคือคนปกติ?

เมื่อไรควรพาเด็กมาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก

ยาทางจิต กินแล้วติดไหม? (ตอนที่1: ยาต้านเศร้า ยาต้านโรคจิต ยาทำให้อารมณ์คงที่)

ยาทางจิต กินแล้วติดไหม? (ตอนที่2: ยาคลายกังวล/นอนหลับ)

ยาทางจิต กินแล้วติดไหม? (ตอนที่3: คำถามที่พบบ่อย)

โรคทางจิตเวช: ไม่ทานยาได้ไหม?

ผลข้างเคียงจากยา ได้คุ้มเสี่ยงหรือไม่ (1) : ความรู้ทั่วไป

ผลข้างเคียงจากยา ได้คุ้มเสี่ยงหรือไม่ (2) : ยาต้านเศร้า

โรคจิตเภท (Schizophrenia)

ทำไมคนเราถึงเป็นโรคจิตได้

โรคหลงผิด (Delusional Disorder)

อย่างไรถึงเรียกว่า…โรคซึมเศร้า

การรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (ถาม-ตอบ)

โรควิตกกังวล

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorders)

ภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน

หญิงเก่งกับอาการเศร้าแฝง

โรคแพนิค (Panic)

โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder)

“โรคชอบเปรียบเทียบ”

เจ้าชู้

เราจะช่วยเหลือเขา (คนอยากตาย) อย่างไร

คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับ”การฆ่าตัวตาย”

ทำไมเด็กเก่งคิดฆ่าตัวตาย?

โรคติดการพนัน (Pathological Gambling)

ปัญหาสุขภาพจิตจากการติดการพนันฟุตบอล

ป่วยกายป่วยใจ จากภัยโรคคิดไปเอง (Hypochondriasis)

วิตกจริต : “คิด”จนป่วย

โรคดึงผมตัวเอง

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

ย้ำคิดย้ำทำหรือรอบคอบ ความเหมือน…ที่แตกต่าง

โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Post Traumatic Stress Disorder, PTSD)

อยู่กับความเครียดอย่างไร

วิธีโน้มน้าวคนใกล้ชิดไปพบจิตแพทย์

รับมือกับ…ความเจ็บปวดและการป่วยเรื้อรัง

รับมือกับ…ความสูญเสีย

วิธีลดทุกข์เมื่อชีวิตล้มเหลว

“อิฐที่ไม่ดี 2 ก้อน” กับการเห็นคุณค่าของตัวเอง

คุณค่าของชีวิต

คิดจะเป็นคนดี

เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างมีคุณภาพ (เลี้ยงลูกตามลำพัง)

ปิดทางเสี่ยง ก่อนลูกมี”อาการทางจิต”

ทำอย่างไรเมื่อลูกเอาแต่ใจตัวเอง

พูดกับลูกไม่รู้เรื่อง

“เด็กดื้อ”…สาเหตุและการแก้ไข

เพศศึกษา ล้อมคอกก่อนวัวหาย

ปัญหาวัยรุ่นกับการมีเพศสัมพันธ์

คุยเรื่องเพศกับลูก

ลูกสาวแต่งตัวหวาดเสียว

การป้องกันลูกสาวไม่ให้ตกเป็นภรรยาน้อย

20 วิธี เป็นพ่อแบบ “อู้ฮู…หนูรักพ่อจัง”

(ให้)อิสระ(กับลูก)…แค่ไหนดี

เลี้ยงเด็กด้วยวิธีใด ก็ได้เด็กเป็นคนเช่นนั้น

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้ติดเกม

เด็กก้าวร้าว

พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกติดยาเสพติด ?

เด็กติดยาเสพติด

ข้อคิดดีๆที่จะทำให้ความสัมพันธ์มั่นคง ลึกซึ้งและยืนยาว

4 อย่า..เมื่อเกิดปัญหาในชีวิตคู่

สิ่งที่แม่ต้องการจากพ่อ

แต่งงานดีไหม หรือโสดดีกว่า?

การเลือกคู่ครอง

เขารักเราหรือเปล่า?

สาวๆ อย่าเลือกผู้ชายที่”ใจเป็นโรค”(นิสัย 2 อย่างที่ไม่ควรเอามาเป็นสามี)

ภาวะพึ่งพิง (Dependency)

อกหัก ก็หายได้

อยู่อย่างไรให้รอด เมื่อเราสองต่าง “ฐานะ”

เมื่อ”เมียเก่งกว่า”อยู่อย่างไรให้ไร้ปัญหา

ถ้าจำเป็นต้องหย่าร้าง

อากัปกิริยาของพวกอยากมีเซ็กซ์ แต่ไม่อยากรับผิดชอบ (ฟันแล้วจะทิ้ง)

มีเซ็กซ์เมื่อถึงวัยอันควร (ความรัก ความใคร่…ชายหญิงไม่เหมือนกัน)

อยู่ก่อนแต่ง แต่งก่อนอยู่ ?

คุณป่วยเป็นโรคติดเซ็กซ์หรือไม่ (Sex Addict)

สวิงกิ้ง…เข้าขั้นโรคจิตหรือไม่

ความจริงที่เกี่ยวกับ เรื่องเงินและความสุข

อยู่อย่างไรให้เป็นสุขในวัยสูงอายุ

ปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

เมื่อไหร่ควรสงสัยว่าผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อม

รับมือโรคหลงลืม…สมองเสื่อมก่อนจะสาย

วิธีดูแลพ่อแม่

การดูแลด้านจิตใจในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

วิธีพูดเพื่อส่งคนใกล้ตายให้ไปดี

ความคิดและจิตใจของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Gifted Children)

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal) หรือ โรคกลัวโรงเรียน (school phobia)

เมื่อลูกไม่ยอมไปโรงเรียน

โรค LD (Learning Disorder)

เมื่อลูกมีความบกพร่องในการเรียนรู้ จะช่วยได้อย่างไร

โรคสมาธิสั้น (ADHD)

ผู้ใหญ่เป็นสมาธิสั้นได้หรือไม่‬?

อาการที่จะดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ หลังจากเริ่มทานยาต้านเศร้า

ปัจจุบัน สังคมของเราเริ่มมีความรู้มากขึ้นแล้วว่า โรคซึมเศร้านั้นมีอยู่จริงและรักษาให้หายได้

การรักษาร่วมกันทั้งยาและที่ไม่ใช้ยา (pharmacological and non-pharmacological treatment) เช่น การออกกำลังกาย การปรับวิธีคิดและเปลี่ยนพฤติกรรม การฝึกสติในชีวิตประจำวัน ให้ผลการรักษาดีกว่าใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง .

💊 อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการรักษา ยาเป็นอย่างแรกที่สำคัญ​มาก​ 💊 เปรียบเทียบกับโรคทางกาย เช่น ก้อนเนื้องอก เราจำเป็นต้องผ่าตัดก้อนออกเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะทำการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่นๆ ตามมา

เนื่องจากยาต้านเศร้าแก้ที่ต้นเหตุ คือเข้าไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง จึงต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ๆ กว่าจะเริ่มเห็นผลการรักษา ไม่ได้เห็นว่าอาการดีขึ้นทันทีเหมือนยาตามอาการ อย่างเช่นยาแก้ปวด

ส่วนใหญ่แล้ว ตัวหมอเองจะนัดตรวจติดตามประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากพบกันครั้งแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่นานพอจะเริ่มเห็นผลการรักษา และไม่นานเกินไปหากมีผลข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ นอนหลับไม่สนิท หรือ ง่วง .

จากประสบการณ์ในการรักษา หมอพบว่าอาการที่มักจะดีขึ้นใน 2 สัปดาห์แรกหลังคนไข้ได้ยาต้านเศร้า (และยาตามอาการที่จำเป็น) ได้แก่

#ทางกาย : ความรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียน้อยลง ตอนเช้าลุกจากเตียงง่ายขึ้น อาการปวดต่างๆ ลดลง

#ทางอารมณ์ : อารมณ์ด้านลบน้อยลง เศร้าถี่น้อยลง เศร้าไม่นานเท่าเดิม หงุดหงิดน้อยลง รู้สึกชิลขึ้น รู้สึกว่าปล่อยวาง/ช่างมันได้บ้าง

#ทางความคิด : ความคิดหมกมุ่นวนเวียนน้อยลง เรื่องเก่าๆ ไม่ได้พุ่งเข้ามาทันทีที่ตื่นหรือว่าง หัวโล่งขึ้น ใครที่มีเคยความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเรื่องการตาย หรือวิธีฆ่าตัวตาย ก็จะคิดน้อยลงมาก หรือ ไม่มีความคิดนี้อีกเลย

#ทางพฤติกรรม : มีเรี่ยวแรงมากขึ้น ใครที่นอนเยอะๆ ก็จะลุกขึ้นมาทำกิจวัตรได้มากขึ้น ใครที่เคยร้องไห้บ่อยๆ หนักๆ ก็จะร้องถี่น้อยลง ร้องนานน้อยลง .

ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในคนไข้ส่วนใหญ่ หลังจากได้รับยาต้านเศร้าไปเพียง 2 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการตอบสนองต่อการรักษา

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีคนไข้บางคนที่ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แพทย์เจ้าของไข้จะพิจารณาปรับหรือสั่งการรักษาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

อาการจะดีขึ้นชัดเจนขึ้น เมื่อได้รับการรักษาในหลักเดือน และสามารถหายขาดได้ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับหลายๆปัจจัย (ทั้งทางพันธุกรรม ระยะเวลาที่มีอาการและความรุนแรงของอาการก่อนเริ่มรักษา บุคลิกภาพ ตัวกระตุ้น ปัจจัยส่งเสริม)

บางคนอาจจะต้องเปลี่ยนยาบ้าง ก่อนจะเจอยาตัวที่เหมาะสมที่สุด แต่หลายคนก็หายได้ตั้งแต่ยาตัวแรกที่ใช้

ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนที่กำลังรักษาอยู่ และอยากให้เราทุกคนหมั่นดูแลเอาใจใส่ทั้งตัวเองและคนรอบข้างค่ะ

บทความโดย พญ. พาพร เลาหวิรภาพ

“โรคซึมเศร้ากับเจ้าหมาดำ โดย WHO”

ปัจจุบัน ผู้คนสังเกตตัวเองกันมากขึ้นจากข้อมูลในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะ “โรคซึมเศร้า”

หลายคนทำแบบคัดกรองแล้วก็มาปรึกษาหมอเนื่องจากคิดว่าตัวเองอาจจะเข้าข่าย

สำหรับผู้ที่หมอวินิจฉัยว่า กำลังเผชิญโรคซึมเศร้าอยู่จริงๆ ควรที่จะทำความรู้จัก “สิ่งใหม่” ที่เกิดขึ้นนี้

และคนใกล้ชิดเอง ก็ควรที่จะเข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังเจออะไรอยู่บ้าง ด้วยการรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้

เพราะตัวโรคไม่ได้มีผลแค่กับตัวผู้ป่วยอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบกับคนรอบข้าง ไม่ต่างกับโรคอื่นๆ

ดังนั้น หมอจึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติ ได้ดูคลิปขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ออกเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2012 ชื่อ “I Had a Black Dog : His Name was Depression”

(https://www.youtube.com/watch?v=XiCrniLQGYc)

ตัวเอกของเรื่อง คือ เจ้าหมาดำ หรือ  ‘black dog’

ซึ่ง Sir Winston Churchill นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เคยใช้เป็นสัญลักษณ์เปรียบอาการซึมเศร้าของเขา

คุณ Matthew Johnstone  ซึ่งเป็นผู้ผลิตสื่อนี้ ถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความรู้สึก และ อาการทางร่างกาย ของผู้ที่กำลังมีโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเคยประสบกับโรคซึมเศร้ามานานกว่า10ปี กว่าจะทราบว่าเป็นโรคที่รักษาได้

คลิปของ WHO นี้เป็น animation การ์ตูนประกอบคำบรรยาย ยาวเพียงประมาณ 4-5 นาที แต่ทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย หมอเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก จึงแปลเป็นภาษาไทยไว้ ณ ทีนี้

เรามาทำความรู้จัก โรคซึมเศร้า ผ่านสายตาของผู้ที่กำลังเผชิญโรคนี้กันค่ะ

ที่มาภาพ:

http://www.slideshare.net/TCVScotland/redhall-i-had-a-black-dog

http://glasgowspcmh.org.uk/information/depression/blackdog

Home 2021


บทความโดย พญ. พาพร  เลาหวิรภาพ

——————————————–

ผมมีหมาสีดำตัวหนึ่ง มันชื่อเจ้า ‘ซึมเศร้า’

10730217_622575514513135_6228755359945064440_n

เมื่อไหร่ก็ตามที่เจ้าหมาดำปรากฏตัว ผมรู้สึกว่างเปล่า ชีวิตดำเนินไปอย่างเชื่องช้า

เขาจะโผล่มาเยี่ยมเยียนอย่างไม่มีเหตุผล

เจ้าหมาดำทำให้ผมดูแก่กว่าอายุจริงไปหลายปี

10888563_622576614513025_7155609506276950438_n

ในขณะคนอื่นดูมีความสุขกับชีวิต ผมกลับเห็นแต่ความหมองหม่น10897993_622576634513023_3883167044110467425_n

กิจกรรมที่ผมเคยเพลิดเพลิน ก็ไม่น่าสนุกอีกต่อไป

10411262_622576717846348_928769703975948206_n

มันทำให้ผมเบื่ออาหาร ความจำไม่ดี และไม่มีสมาธิ

10898268_622576951179658_1761654454163769535_n

การจะทำอะไรสักอย่างหรือจะไปไหนสักแห่งกลายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เรี่ยวแรงมหาศาล

เวลาเข้าสังคม มันก็ทำให้ผมสูญเสียความมั่นใจที่เคยมีไปหมด

10363692_622577174512969_4435056688437180210_n

สิ่งที่ผมกลัวมากที่สุดก็คือการมีใครรู้ว่าผมมีโรคซึมเศร้า

ผมกังวลว่าคนอื่นๆจะตัดสินผม10888880_622581901179163_8961489610353877331_n

และเพราะความกังวลเกี่ยวกับความอับอายและตราบาปหากใครรู้เข้าว่าผมมีโรคซึมเศร้า

ทำให้ผมต้องทุ่มเทพลังงานอย่างมากมายเพื่อปกปิดมันไว้

การปั้นหน้า แสร้งทำเป็นว่าไม่เป็นอะไร…มันเหนื่อยล้าเหลือเกิน10392322_622577241179629_1493584829703074323_n

เจ้าหมาดำทำให้ผมคิดและพูดอะไรแย่ๆ

ทำให้ผมขี้หงุดหงิด ใครๆเข้าหน้าไม่ติด1655878_622577284512958_199121050304441568_n

และความรักความสัมพันธ์ของผม ก็พังลงไปด้วย10888545_622577324512954_5966329053237621390_n

สิ่งที่เจ้าหมาดำชอบยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ก็คือการปลุกผมให้ตื่นกลางดึกมาอยู่กับความคิดแง่ลบที่วนไปเวียนมาไม่จบ

มันยังชอบย้ำเตือนด้วยว่า พรุ่งนี้ผมจะต้องเหนื่อยล้าขนาดไหน10888402_622577461179607_2333998157949110638_n

การมีเจ้าหมาดำในชีวิตคุณ มันไม่ใช่แค่การรู้สึกจิตตก แย่ หรือเศร้า … จุดที่แย่ที่สุดคือการไม่ยินดียินร้ายกับอะไรเลย10419410_622577507846269_6874036053029734221_n

เมื่อผมอายุมากขึ้น เจ้าหมาดำก็โตขึ้นด้วยและตามติดผมตลอดเวลา

ผมพยายามทำทุกวิถีทางที่คิดว่าจะไล่มันไปได้ แต่มันก็กลับมาและเอาชนะได้บ่อยกว่า

ผมยอมแพ้ดีกว่า มันง่ายกว่าการพยายามลุกขึ้นอีกครั้งเยอะเลย10806232_622577561179597_7825347738813904804_n

ผมก็เลยไปใช้วิธีอื่นๆในการเยียวยาตัวเอง … ซึ่งก็ไม่เคยช่วยได้จริงๆหรอก10882221_622577611179592_7756450753042992053_n

ในท้ายที่สุด ผมก็รู้สึกโดดเดี่ยวจากทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคน

เจ้าหมาดำเข้ายึดครองชีวิตของผมได้สำเร็จ

ซึ่งเมื่อคุณสูญเสียความรู้สึกดีๆในทุกด้านของชีวิต คุณก็จะเริ่มเกิดคำถามว่า จะอยู่ไปทำไม?10891811_622577664512920_4940159227433573846_n

โชคดีเหลือเกินที่นี่เป็นจุดที่ผมเริ่มหาความช่วยเหลือทางการแพทย์

มันคือก้าวแรกสู่การฟื้นตัวและเป็นจุดเปลี่ยนทีสำคัญยิ่งของชีวิต10806311_622577737846246_3797529435415660761_n

ผมได้เรียนรู้ว่า มันไม่สำคัญเลยว่าคุณจะเป็นใคร เจ้าหมาดำเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับชีวิตคนเป็นล้านๆ

ทุกคนมีโอกาสพอๆกัน10891871_622577814512905_7073824101281187117_n

ผมยังเรียนรู้อีกด้วยว่า ยาวิเศษที่่กินแล้วหายชะงัดทันที ไม่มีอยู่ในโลกนี้

ยาสามารถช่วยได้ระดับหนึ่ง ยังมีการดูแลรักษาอย่างอื่นด้วยซึ่งแต่ละคนอาจจะต้องการแตกต่างกันไป10898143_622577901179563_5542104596068529082_n

การซื่อตรงต่อความรู้สึกของตัวเองและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงกับคนใกล้ชิด

อาจเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเลย10432546_622577994512887_4956276749675827088_n

ที่สำคัญที่สุด ผมเรียนรู้ที่จะไม่หวาดกลัวเจ้าหมาดำ และหัดฝึกมัน

ยิ่งคุณเหนื่อยและเครียดมากเท่าไหร่ มันก็จะเห่าดังเท่านั้น

ดังนั้นคุณจึงต้องรู้จักทำจิตใจของตัวเองให้สงบเป็น1455867_622578074512879_7614349087566267169_n

มีผลการศึกษายืนยันชัดเจนว่า การออกกำลังกายสม่ำเสมอสามารถรักษาโรคซึมเศร้าระดับน้อยถึงปานกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพพอๆกับยาต้านเศร้า

ดังนั้น ออกไปเดิน ไปวิ่ง ทิ้งเจ้าหมาดำไว้ข้างหลังซะ10646971_622578124512874_399115481446242347_n

จดบันทึกเรื่องอารมณ์ – การเขียนความคิดลงมาในกระดาษมักทำให้เราเกิดความเข้าใจตัวเองและสามารถทำให้เรารู้สึกมีพลังขึ้น

อย่าลืมที่จะมองเห็นและจดจำสิ่งดีๆในชีวิตด้วย10881597_622578177846202_847095269543107387_n

สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจำได้เสมอก็คือ ไม่ว่าอะไรๆจะเลวร้ายแค่ไหน

หากคุณทำในสิ่งที่ควรทำ คุยกับคนที่เข้าใจ

คุณก็จะสามารถผ่านวันเศร้าๆไปได้10850122_622578234512863_4474346783304655024_n

ผมคงไม่บอกว่าผมรู้สึกซาบซึ้งต่อเจ้าหมาดำ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเขาเป็นครูคนสำคัญ

เขาทำให้ผมต้องหันกลับมามองดูชีวิตตัวเองและทำอะไรๆให้เรียบง่าย

ผมเรียนรู้ว่า แทนที่จะวิ่งหนีปัญหา ลองยอมรับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตดีกว่า

10885424_622578264512860_38475383137464586_n

เจ้าหมาดำอาจจะอยู่กับผมไปตลอดชีวิต แต่เขาจะไม่เป็นตัวร้ายอย่างที่เคย

เดี๋ยวนี้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้นมาก

ผมได้เรียนรู้ว่า ความรู้ ความอดทน วินัย และอารมณ์ขัน สามารถรักษาหมาดำที่ดุร้ายให้หายได้

ถ้าหากคุณกำลังประสบปัญหา อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายตรงไหนเลยที่จะทำแบบนั้น

10882129_622578397846180_5160861166472310244_n

เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งมากกว่าถ้าหากเราเสียโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดี11606_622587277845292_140740801986936731_n

เสีย function : อาการขนาดไหนกันถึงควรไปพบจิตแพทย์

หลายคนคิดว่า เมื่อมีสถานการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น ตกงาน , อกหัก , คนรักเสียชีวิต เป็นต้น ก็น่าจะถือว่า การนอนไม่หลับ จิตตก ฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ ฯลฯ ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ

… เพราะสิ่งที่เจอนั้น มันก็น่าเครียดจริงๆ …

แต่บางครั้ง อาการเหล่านั้นก็หนักหนา และอยู่ต่อเนื่องยาวนาน จนอาจทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า

นี่ผิดปกติไหม? เราต้องหาจิตแพทย์หรือยัง?

หมอขอเริ่มที่คำถามว่า คุณคิดว่า หากมีสาเหตุที่ “เข้าใจได้” ว่ากดดันทางจิตใจ

ก็แปลว่าอาการถือเกิดขึ้น “ไม่ว่าจะรุนแรง” แค่ไหน ก็ถือว่าปกติ อย่างนั้นหรือเปล่าคะ ?

คำตอบ คือ ไม่ใช่ ค่ะ

เราจะบอกว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ในระดับที่เข้าข่ายเป็น “โรค” ควรได้รับการรักษา

ก็ต่อเมื่อ อาการนั้น

เป็นนาน กว่าที่ควร / กว่าที่คนส่วนใหญ่เป็น

และที่สำคัญ คือ เป็นหนัก จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต … ซึ่งหมอเรามักจะเรียกกันว่า “เสีย function”

(รายละเอียดของอาการ หมอเคยกล่าวไว้แล้วในบทความ เหตุผลที่เราควรไปพบจิตแพทย์)

แล้ว functions ของคน ๆ หนึ่งมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่คนคนหนึ่งควรดูแลรับผิดชอบให้มีได้ แบ่งเป็น 3 ด้านใหญ่ ๆ ค่ะ คือ

1. การมีสุขภาพกายและใจที่ดี

2. การรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองตามวัย ได้แก่ การเรียน การทำงาน การดูแลลูกหลาน เป็นต้น

3. การดูแลความสัมพันธ์ให้ราบรื่น

ความเครียดในระดับปกติ (normal reaction to abnormal situation) จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อ 3ด้าน ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงมากกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อจัดได้ว่าเป็นโรค ก็มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน และโดยส่วนใหญ่ มักจะไม่ได้ถูกกระทบแค่ด้านเดียว ตัวอย่างเช่น

โรคซึมเศร้า จะทำให้ผู้ป่วยเบื่อหน่าย เซ็ง ท้อแท้ หาความสุขในชีวิตไม่เจอ ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร หลายคนเอาแต่นอน (จนดูเหมือนขี้เกียจ) บางคนก็ปวดนู่นปวดนี่ ไมเกรนกำเริบบ่อยๆ (ด้านแรก – สุขภาพกายและใจ)

สมาธิไม่ดี ขี้ลืม ทำงานแย่ลงกว่าเก่า เริ่มขาดเรียนลางาน (ด้านที่2 – การรับผิดชอบหน้าที่) ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากพูดกับใคร (ส่วนหนึ่งเป็นการตั้งใจเลี่ยงเพราะรู้ตัวว่าพูดแล้วมักจะหงุดหงิดง่าย) มีเรื่องทะเลาะผิดใจกับคนใกล้ชิดบ่อยๆ ด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ (ด้านที่3 – การดูแลความสัมพันธ์)

ดังนั้น ต่อคำถามที่ว่า ต้องมีอาการขนาดไหนถึงควรพบจิตแพทย์

คำตอบ คือ เมื่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบกับสุขภาพ หน้าที่ และ/หรือ ความสัมพันธ์ ของเราอย่างชัดเจน … หรือสั้นๆ ก็คือ เมื่อเริ่ม เสีย function นั่นเองค่ะ

หากใครสังเกตตัวเองแล้วสงสัยว่า อาการของตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหรือไม่ หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความแน่ใจ ( แบบสอบถามเป็นเพียงการคัดกรอง อย่างไรก็ต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยและวินิจฉัยแยกโรค ) เพราะหากอาการเป็นเพราะโรคจริง ๆ การรักษาแต่เนิ่น ๆ ก็จะง่ายกว่าการปล่อยทิ้งไว้ แล้วรักษาเมื่อโรคดำเนินไปรุนแรงแล้วมาก ๆ ค่ะ

บทความโดย พญ. พาพร เลาหวิรภาพ

พลังของความปรารถนาดี

พลังของความปรารถนาดี….แม้เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาแต่หลายครั้งสามารถสัมผัสได้ด้วยใจ และอาจให้อะไรมากกว่าที่เราเข้าใจ

ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องไอซียูเรื่องนี้ค่ะ (นำมาจากเรื่องจริง โดย พระไพศาล วิลาโล ค่ะ)

…ชายหนุ่มคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุ บาดเจ็บทางสมอง และ ไตวายเฉียบพลัน ต้องฟอกเลือด อยู่ในภาวะโคม่า หมอบอกว่ามีโอกาสรอดน้อยมาก ระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์

เขาเล่าว่ารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง…แต่บางช่วงจะรู้สึกว่า มีมือมาแตะที่ตัวเขาพร้อมกับมีพลังดีๆส่งเข้ามา ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้นกลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา

สักพักความรู้สึกตัวนั้นก็เลือนรางไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน…

เขามารู้ภายหลังว่า มีพยาบาลคนหนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวร จะเดินเยี่ยม ทักทายให้กำลังใจ คนไข้ทุกคน แต่ถ้าคนไข้ยังโคม่าอยู่ เธอก็จะจับมือส่งความรู้สึกดีๆและให้กำลังใจ  “ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว”

พอถึงเวลาลงเวรตอนบ่าย ก็บอกคนไข้ว่า ดิฉันจะลงเวร  “ขอให้คุณสบายทั้งคืน พรุ่งนี้พบกันใหม่”

กำลังใจและความเมตตานั้นมีพลังที่แม้แต่คนไข้ซึ่งหมดสติไปแล้ว ก็สามารถรับรู้ได้

เรื่องนี้เป็นข้อคิดแก่หมอ พยาบาล และ ญาติ ว่าคนไข้โคม่านั้น  เขาโคม่าแต่กาย  ส่วนจิตใจยังสามารถรับรู้ได้ แม้จะรางๆ… คำพูดและสภาวะจิตใจของหมอ พยาบาล และ ญาติ ไม่ว่าทางบวกหรือลบ สามารถมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยได้

ถ้าพูดหรือคิดในทางร้าย อาการของผู้ป่วย ก็อาจจะทรุดลงได้แม้จะให้ยาเต็มที่แล้วก็ตาม…

ดังนั้นพลังดีๆ มีผลต่อจิตใจได้อย่างมากนะคะ แม้จะมองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยใจค่ะ

ตัวเราเองเมื่อส่งความปรารถนาดีกับคนรอบข้าง สิ่งนี้ก็จะกลายเป็นพลังดีๆย้อนกลับมาหาเราด้วยเช่นกันค่ะ เพราะใจเราก็อ่อนโยนขึ้น มีพลังดีๆไปด้วยค่ะ

485891_597121060321344_1001415769_n

พลังของความปรารถนาดีกับตัวเอง

ไม่เพียงแต่คนป่วย หรือ คนอื่นๆ ที่เราจะส่งพลังดีๆ พลังแห่งความเมตตาให้เขานะคะ  แม้กับตัวเราเองถ้าเราลองส่งพลังดีๆ พลังแห่งความปรารถนาดี ให้ตัวเองบ้างในแต่ละวัน พลังดีๆและกำลังใจเหล่านี้จะช่วย “เยียวยาใจ” เรา ให้สดชื่น มีกำลัง เกิดความแข็งแรงขึ้นในจิตใจได้ค่ะ

เมื่อจิตใจเรามีกำลัง แข็งแรงขึ้น ไม่ว่าจะเจออุปสรรคข้างนอกสักเพียงใด เราก็สามารถฟันฝ่าไปได้ค่ะ  ในทางตรงข้ามถ้าเราหมั่นว่าตัวเอง ตำหนิตัวเอง จิตใจเราก็ห่อเหี่ยว เรื่องเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ เพราะใจเราหมดแรงที่จะต่อสู้อ่ะนะคะ

ดังนั้น…..วันนี้ อย่าลืมส่งความปรารถนาดีให้กับ ตัวเอง และ คนรอบข้าง นะคะ…

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

เครดิตเรื่องเล่าในไอซียู : จากหนังสือ ธรรมะสำหรับผู้ป่วย
โดย พระไพศาล วิสาโล

Click to access book_180.pdf

เครดิตภาพ : http://otrazhenie.wordpress.com/2013/06/16/we-cant-help-everyone-but-everyone-can-help-someone/

ภาวะ “การปรับตัวผิดปกติ” คือ อะไร ? (Adjustment disorder)

เมื่อเจอภาวะกดดัน ผิดหวัง หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต  เป็นธรรมดาที่จะทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล สับสน งุนงง หวั่นไหว เซ็ง เบื่อ เศร้า เสียใจ หงุดหงิด ได้เป็นธรรมดา  ซึ่งเรียกว่า “เป็นปฏิกิริยาการปรับตัวปกติ” ของจิตใจ (Adjustment reaction/ normal reaction)

ในทางตรงข้ามถ้าเจอเรื่องแย่ๆ หนักๆ กดดันแต่ไม่รู้สึกอะไรเลย อาจเป็นเรื่องแปลกมากกว่า เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะมนุษย์ปุถุชนปกติ เมื่อเจอเรื่องแย่ๆ เรื่องกดดันย่อมรู้สึกหนักใจ ทุกข์ใจได้เป็นธรรมดา อันเนื่องมาจาก เป็นกลไกป้องกันตัวของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ จิตใจกำลังเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่กำลังรู้สึกไม่ชอบมาพากล เพราะ เหตุการณ์เลวร้ายกำลังจะเกิดแล้ว เหตุการณ์นี้กำลังจะสั่นสะเทือน คุกคาม ต่อ ความสุข ความสบาย ความมั่นคงในชีวิตของเราแล้ว  ความกลัว กังวล จึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

เพราะ ความกลัว กังวล คือ สัญญาณเตือนภัยชั้นดี (คล้ายสัญญาณหวอเตือนภัย) มันกำลังเตือนให้เราเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ได้แล้ว มันกำลังบอกเราว่า  …ตื่นตัวเถิด อย่ามัวหลับไหล ลุ่มหลงต่อไปเลย ก่อนที่เรื่องจะเลวร้ายกว่านี้…

อันนี้คือ สิ่งที่จิตใจของเรา กำลังดูแลเรา กำลังส่งสัญญาณเตือนเราอยู่ เพราะลองมองอีกด้าน คือ ในทางตรงข้าม เมื่อเจอสถานการณ์ที่กำลังจะแย่ การชิล หรือ ใจเย็น มากไป อาจทำให้เราไม่เตรียมพร้อมกับอะไรเลย ซึ่งอาจทำให้เราดูแล แก้ไข สถานการณ์ต่างๆได้ไม่ทัน เหมือนรู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว

ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายข้างนอกมากระทบ จิตใจที่อยากปกป้องดูแลตัวเรา จึงทำงานทันที เกิดปฏิกิริยาที่ตื่นตัวขึ้นมากกว่าปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อสัญญาเตือนภัยทางใจทำงาน จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางใจ และ ทางกายได้ดังนี้คือ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัว วิตกกังวล ตึงเครียด คิดมาก สับสน เศร้า หงุดหงิด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ท้องผูก ท้องเสีย เป็นต้น

แต่เมื่อไหร่ละ ที่เราจะบอกว่าความเครียดอันนี้ไม่ใช่ สัญญาณเตือนภัยปกติ (normal reaction) เสียแล้ว แต่มันกำลังทำงานตื่นตัวมากเกินไป จนผิดปกติ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะ “การปรับตัวผิดปกติ” (adjustment disorder)

ภาวะเหล่านี้ คือ สิ่งที่บอกว่า กำลังเกิด ภาวะ “การปรับตัวที่ผิดปกติ” ไปเสียแล้ว

1. เครียดมาก…จนบกพร่องชัดเจนในหน้าที่การงาน หรือ การเรียน

2. เครียดมาก…จนบกพร่องชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์

3. เครียดมาก…จนบกพร่องชัดเจนในการเข้าสังคม

4. เครียดมาก…จนส่งผลต่อการกิน การนอนผิดปกติ ไปหมด

5. เครียดมาก…จนวันๆ หมกมุ่น ครุ่นคิดต่อเรื่องนั้น จนไม่เป็นอันทำอะไรกันเลย

6. เครียดมาก…จนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าว เกเร เป็นต้น

7. เครียดมาก…จนบกพร่องชัดเจนในการดูแลตัวเอง เช่น ไม่ใส่ใจตัวเอง หรือ มีความคิด/มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือ อาจเลยเถิดไปเป็นการพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น

Take it easy

เมื่อเรา เช็คสัญญาณเตือนภัย แล้ว พบว่า มันกำลังทำงานตื่นตัวผิดปกติไปเสียแล้ว เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้าง

1. หาสาเหตุของความเครียด

เพราะ บางคนเครียดมากจนสับสน จับต้น ชนปลายไม่ถูก ว่าเราเครียดจากเรื่องอะไรกันแน่ ??!!!

ดังนั้นใจเย็นๆ ตั้งสติ หายใจ เข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ แล้วค่อยมองปัญหาทีละส่วน เมื่อจะแก้ปม ที่พันเป็นก้อนกลม ต้องค่อยๆดู ค่อยแก้ออกทีละปม ยิ่งใจร้อน จะยิ่งแก้ไม่ออก เพราะ มองไม่เห็นสาเหตุที่แท้จริง และจะยิ่งทำให้ท้อใจไปโดยใช่เหตุ เพราะไปเข้าใจผิดว่าแก้ไม่ได้ ที่จริงอาจเป็นเพราะ เราใจร้อนอยากรีบแก้เกินไปต่างหาก

2. ทำความเข้าใจปัญหานั้น

เมื่อเห็นสาเหตุชัดเจนแล้ว ทำความเข้าใจกับปัญหา จะช่วยให้แก้ไขได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ถ้าปัญหาทำให้หนักอกหนักใจมาก จนแน่นอกไปหมด

อาจหาใครสักคนที่เรารัก เช่น เพื่อน หรือ คนในครอบครัว รับฟัง เพราะการได้ระบาย ปัญหา หนักอกหนักใจออกไปบ้าง จะช่วยลดความกดดัน ความแน่น ความหนักในใจ จะลดลงไปได้อย่างมาก หลายคนเมื่อได้ระบายออกไปแล้ว จิตใจรู้สึกโล่งโปร่งสบายมากขึ้น ช่วยทำให้เห็นทางออกของปัญหาได้ดีขึ้น

4. ไตร่ตรองดูปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง โดยมีแนวทางดังนี้

– เขียนปัญหาทั้งหมดลงในกระดาษ การเขียนจะช่วยให้เห็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น เป็นระบบมากขึ้น กว่าการคิดวนๆ อยู่ในหัว การคิดวนๆอยู่ในหัว ยิ่งคิด จะยิ่งเพิ่มความยุ่งเหยิงยุ่งยิ่งของปัญหามากขึ้นไปอีก เพราะความวนและความคิดที่สะเปะสะปะไร้ระบบ

-ไตร่ตรองดูว่า ปัญหาไหนแก้ไขได้ ก็ให้หาทางออกให้เต็มที่ เขียนทุกทางออกให้มากที่สุด

– ส่วน ปัญหาไหนที่แก้ไขไม่ได้แล้วจริงๆ การฝึก “ยอมรับ” มันอย่างที่เป็น เป็นหนทางที่ดีที่สุด เพราะ การยอมรับ ช่วยให้ใจสงบขึ้นกว่า การไม่ยอมรับ ใจที่สงบขึ้น จะเป็นใจที่มีคุณภาพดี มีประสิทธิภาพสูง ที่จะช่วยหาทางออกของปัญหาต่างๆได้มากยิ่งขึ้น

การดูแลจากคนใกล้ชิด

1. รับฟัง อย่างเข้าใจ

2. ให้คำแนะนำที่เหมาะสม

คำแนะนำที่เหมาะสมมาจากไหน? คำแนะนำที่เหมาะสมย่อม มาจากความเข้าใจในตัวเขาและปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นไม่ควรรีบแนะนำ ถ้ายังไม่เข้าใจในตัวเขาและปัญหา เพราะ จะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ มากกว่าจะรู้สึกดี

3. ให้กำลังใจ ชี้ให้เขาเห็นศักยภาพในตัวเขา เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น ว่าสามารถเผชิญต่อปัญหานั้นได้ แต่ถ้าความรู้สึกเครียดนี้มีมากจนรับมือไม่ไหว การพบจิตแพทย์ เป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยได้นะคะ

ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  รพ.รามาธิบดี

เครดิตภาพ : https://www.facebook.com/Mamuangjungdotcom/photos/pb.603313313030393.-2207520000.1414850104./937146156313772/?type=3&theater

รักร่วมเพศ (Homosexual)

วันนี้เรามาพูดเรื่องที่อาจเรียกได้ว่าสามัญสักหน่อยนะครับ … ที่นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เพราะวันก่อนเพื่อนถามว่าชอบหนังไทยเรื่องไหนที่สุด … คำตอบคือเรื่อง ม้าหินพิฆาต … เอ๊ย … ไม่ใช่ เรื่อง “รักแห่งสยาม” นั่นเอง

ประวัติศาสตร์ของ homosexual

* ที่มาของ homosexual หรือรักร่วมเพศ
รักร่วมเพศนั้นมีเนิ่นนานตั้งแต่โบราณกาลแล้ว แต่ความสนใจ การยอมรับ รวมถึงทัศนคติต่อคนกลุ่มนี้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ตามแต่ละประเทศ บางยุคก็ยอมรับได้ บางยุคเป็นที่ยกย่อง บางยุคก็กลายเป็นอะไรที่ต้องห้ามไป

ยกตัวอย่าง เช่น ในยุคโรมันและยุคกรีก รักร่วมเพศนั้นมีกันอย่างเปิดเผย ยอมรับได้ ถือว่าเป็นธรรมชาติ นอกยิ่งกว่านั้นบางครั้งยังถือว่ารักร่วมเพศนั้นเป็นการแสดงความรักที่สูงส่งด้วยซ้ำ (หากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง “Alexander” (อเล็กซานเดอร์มหาราช) จะเห็นว่า Alexander เองก็มีความสัมพันธ์กับผู้ชายอย่างเปิดเผยและก็ไม่ได้ถูกดูหมิ่นดูแคลนแต่อย่างใด)

แต่ต่อมาในยุคของคริสตศาสนา รักร่วมเพศกลายเป็นสิ่งผิดปกติ เป็นสิ่งต้องห้าม เปิดเผยไม่ได้ ต้องอยู่กันอย่างหลบๆซ่อนๆ ไม่งั้นอาจโดนดูถูกเหยียดหยาม ล้อเลียนอย่างหนัก

แต่มาในยุคปัจจุบัน การยอมรับในเรื่องรักร่วมเพศนั้นก็แตกต่างกันไปในตามแต่ละชาติ แต่ละศาสนา มีตั้งแต่ระดับยอมรับได้มาก เช่นฝั่งของอเมริกาและยุโรป คนมีชื่อเสียงหลายคนสามารถออกมายอมรับว่าตัวเองเป็นรักร่วมเพศได้อย่างเปิดเผย ไปจนถึงบางประเทศที่รักร่วมเพศผิดศาสนาและอาจโดนจำคุกเอาได้ ”

มาสู่คำถามที่มีคนถามบ่อยๆ ว่า “Homosexual เป็นความผิดปกติทางจิตเวชหรือไม่?

*** คำตอบคือ “ไม่” ครับ ***
แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อนานชาติปางก่อนมาแล้ว (มากกว่าสี่สิบปี) มนุษยชาติในวงการจิตเวชและจิตวิทยา เคยระบุว่ารักร่วมเพศเป็นความผิดปกติทางด้านจิตเวช แต่สำหรับในปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

หากไล่ประวัติศาสตร์มาจะได้ดังนี้
– ปี ค.ศ. 1973 APA (American Psychiatric Association: สมาคม-จิตแพทย์สหรัฐอเมริกา) ได้ลบการวินิจฉัย homosexual ออกจากการเป็นความผิดปกติทางจิตเวช
– ปี 1980 homosexual ได้ถูกลบออกจาก DSM และ ICD-10 เช่นกัน (ทั้งสองอย่างเป็นเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชที่ใช้เป็นสากล) รวมถึงได้ระบุว่า “ความพึงพอใจในเพศเดียวกันนั้นไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตเวช” แต่เป็นเรื่องความชอบและความพึงพอใจ (ส่วนบุคคล)

Homosexual พบได้บ่อยแค่ไหน
ในการศึกษาทั่วโลกส่วนใหญ่พบประมาณ 2-4 % ของประชากรทั่วไป

เมื่อไหร่ถึงมั่นใจว่าเป็นรักร่วมเพศจริง ๆ
คำถามนี้ก็มีคนสงสัยบ่อย เพราะบางช่วง บางครั้ง (โดยเฉพาะวัยรุ่น) หลายคนหวั่นไหว ไม่แน่ใจ และสั่นคลอนได้ ทำให้อยากรู้ว่าเมื่อไหร่ ถึงจะพอชัวร์ได้ว่า จริงๆ เราชอบเพศไหนกันแน่

โดยส่วนใหญ่ชายและหญิงรักร่วมเพศมักเริ่มมีความรู้สึกชอบและสนใจในเพศเดียวกันตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น (สิบต้นๆ) แต่จะเริ่มแน่ใจเมื่อความชอบนั้นคงอยู่จนผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นตอนปลายไปแล้ว (อายุเกิน 20)

ดังนั้นการจะมั่นใจว่าคนๆ หนึ่งเป็นรักร่วมเพศจริงๆ หรือไม่ จะบอกได้เมื่อดูไปจนผ่านช่วงวัยรุ่นไปแล้ว เมื่อนั้นความพึงพอใจทางเพศมักจะไม่เปลี่ยนแล้ว แต่ในอายุน้อยกว่านี้อาจจะไม่สามารถบอกได้แน่นอน เพราะพบว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศนั้นบางครั้งเกิดได้ชั่วคราวในบางสถานการณ์หรือบางช่วงของชีวิต เช่น ในโรงเรียนประจำ ในโรงเรียนหญิงล้วนหรือชายล้วนที่แทบจะไม่เจอเพศตรงข้ามเบย ในค่ายทหาร หรือในคุก เป็นต้น ดังที่หลาย ๆ คนอาจเคยเห็นว่า ในโรงเรียนหญิงล้วนนั้น บางครั้งเด็ก ๆ (โดยเฉพาะในช่วงม.ต้น) นั้นอาจจะมีการชอบ ๆ กันเองบ้าง บางทีก็เรียกกันว่าพี่-น้อง ส่งดอกไม้ ของขวัญกันกิ๊กกั๊ก (แต่โตมาส่วนใหญ่ก็ชอบเพศตรงข้ามซะหมด) … ซึ่งพฤติกรรมนี้มักเป็นชั่วคราว พอโตขึ้น หรือเข้ามหาวิทยาลัยก็มักจะหายไป มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คงอยู่เป็น homosexual จริง ๆ

10703521_584563394981014_8747908901916982124_n

สาเหตุของรักร่วมเพศ

พบว่าการเป็น homosexual นั้นเกี่ยวข้องกับสาเหตุใหญ่ ๆ 3 อย่าง ได่แก่

1) สาเหตุทางด้านพันธุกรรม
อาจเหนือความคาดหมายของหลายคน แต่ก็มีการศึกษาพบว่า homosexual นั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับทางพันธุกรรม แม้ว่าบัจจุบันจะยังไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่โครโมโซมตัวไหน แต่จากการศึกษาพบว่าฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) หากคนหนึ่งเป็น homosexual แล้ว มีโอกาสสูงมากที่อีกคนมักจะเป็นด้วย

2) สาเหตุทางด้านกายภาพ
เชื่อว่าฮอร์โมนที่สำคัญและเกี่ยวข้องคือ androgen

ในผู้ชาย —> มีการศึกษาพบว่า homosexual ในผู้ชาย ตรวจพบมีฮอร์โมน androgen น้อยกว่าผู้ชายทั่วไป (ที่ชอบผู้หญิง) ซึ่งฮอร์โมน androgen ในช่วงก่อนคลอดถือเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและจัดเรียงระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงมีบทบาทในการกำหนดเพศและความชอบทางเพศด้วย โดยการมีฮอร์โมน androgen จะทำให้เกิดความชอบต่อเพศหญิง ส่วนการมี androgen น้อยนั้นทำให้มีความชอบในเพศชาย
ในผู้หญิง —> มีการศึกษาที่พบอีกว่า ในผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรค hyperadrenocorticalism (เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนบางอย่างมากเกินไป รวมถึงฮอร์โมน androgen) พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น homosexual มากกว่าผู้หญิงทั่ว ๆ ไป

3) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมนั้นมีการกล่าวถึงหลาย ๆ ทฤษฏีเช่น
• เกิดจากความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับพ่อแม่เพศเดียวกัน ทำให้เด็กนั้นไม่สามารถเลียนแบบบทบาททางเพศได้ หรือไม่อยากที่จะเลียนแบบ เช่น ลูกสาวที่สนิทกับพ่อ แต่ไม่ชอบแม่อย่างมาก ก็อาจมีพฤติกรรมออกไปทางผู้ชายและชอบเพศเดียวกันได้ เป็นต้น
• เกิดจากการเลี้ยงดูแบบผิดเพศหรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบางเพศ หรือพูดง่าย ๆ คือพ่อแม่ไม่พอใจ ไม่ต้องการเพศที่แท้จริงของเด็ก เช่น บางครอบครัวอยากได้ลูกชายมาก ๆ แต่เมื่อคลอดมาเป็นลูกผู้หญิง พ่อแม่บางคนก็เลี้ยงดูออกไปทางผู้ชาย หรือแสดงท่าทีบางอย่างให้เด็กรู้สึกได้ว่าพ่อแม่อยากให้เขาเป็นผู้ชาย
• เกิดจากความกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรงจากความสัมพันธ์แบบชาย-หญิงทั่วไป อันนี้มักพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่า คือผู้หญิงที่ถูกแฟน(ผู้ชาย)ทำร้ายหรือผิดหวังในความรักอย่างแรงจากผู้ชาย ทำให้เมื่อผ่านไปก็ไม่อยากมีแฟนเป็นผู้ชายอีก (อารมณ์ประมาณว่าถ้าผู้ชายมันห่วยแตก ก็รักผู้หญิงด้วยกันดีกว่า)

จริงหรือที่คู่รักร่วมเพศมักไปไม่รอดหรืออยู่ไม่ยืด

จากการศึกษา(ส่วนใหญ่เป็นของทางตะวันตก) พบว่า คู่ homosexual นั้นมีระยะเวลาการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน รวมถึงอัตราการเลิกกัน ไม่ได้แตกต่างจากคู่ชายหญิงทั่ว ๆ ไป (ซึ่งทุกวันนี้อัตราหย่าก็ประมาณ 40-50% อยู่แล้ว ‘ ) แต่เมื่อแยกตามเพศแล้วพบว่า คู่ผู้หญิง-ผู้หญิง นั้นจะมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมั่นคงและยาวนานมากกว่าคู่ผู้ชาย-ผู้ชาย

Homosexual มีปัญหาทางจิตมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่?
หลายคนอาจเคยคิดว่ากลุ่มคนที่เป็นรักร่วมเพศนั้นน่าจะมีความผิดปกติอื่น ๆ เช่นซึมเศร้า โรคจิตเภท หรืออื่น ๆ มากกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป แต่จากการศึกษาพบว่ากลุ่มคนที่เป็นรักร่วมเพศนั้นไม่ได้มีความผิดปกติทางจิตเวชมากกว่าประชากรทั่วไป อาจจะมีบ้างที่บางคนมีอาการซึมเศร้าหรืออาการวิตกกังวลจากการไม่ยอมรับของพ่อแม่ หรือเพื่อน ๆ ในความเป็นรักร่วมเพศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการยอมรับของสังคมนั้น ๆ ด้วย

รักษาได้หรือไม่

จริงๆ คำถามแรกคือ ไม่ถือว่าป่วยหรือผิดปกติ เป็นเพียงการ”ชอบ” หรือ “ความพอใจ” อย่างหนึ่ง ดังนั้นจะรักษาอะไร?

และในปัจจุบันสำหรับผู้ใหญ่ ก็ไม่พบว่ามีวิธีการรักษาที่มีหลักฐานว่าสามารถเปลี่ยนความพึงพอใจในเพศของคนได้เลยยยยย !!!!   เน้นอีกทีครับ ว่าทางการแพทย์ไม่มีวิธีที่พิสูจน์ว่าได้ผลเลย!

เพราะอย่างที่บอกไปว่ามันเป็นเรื่องของความ”ชอบ” เปรียบเหมือน คน ๆ หนึ่ง ชอบกินเนื้อหมูเกลียดเนื้อวัวมานาน คงไม่มีการรักษาแบบใดที่สามารถทำให้คน ๆ นั้น กลับมาชอบเนื้อวัวเกลียดเนื้อหมูได้ นอกจากจำฝืนทนกินไป หรืออย่างมากก็ทำได้แค่ทำให้เกลียดเนื้อหมูซะ

โดยส่วนใหญ่พบว่าปัญหาที่ทำให้คนกลุ่มนี้มาพบแพทย์ส่วนใหญ่จะเกิดจาก
1. พ่อ แม่ หรือครอบครัวยอมรับไม่ได้ —> พบได้บ่อย ๆ ที่พ่อแม่จะพามา หรือพ่อแม่มาปรึกษาแพทย์เพื่ออยากให้แพทย์แก้ไขให้ลูกชอบเพศตรงข้าม ซึ่งในกรณีนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ *** การให้พ่อแม่ยอมรับได้ในสิ่งที่ลูกเป็น ลดความคาดหวังในสิ่งที่ตัวเองอยากให้ลูกเป็น *** ยอมรับว่าการเป็นคนดี การเป็นลูกที่ดี ไม่ได้วัดกันด้วยว่าเค้าชอบเพศอะไร
2. ตัวเองยอมรับตัวเองไม่ได้ (แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นผลมาจากครอบครัวหรือสังคมไม่ยอมรับอีกที) —> แนวทางช่วยเหลือคือช่วยให้คน ๆ นั้นเข้าใจ และยอมรับตัวเองได้ มีการปรับตัว แก้ปัญหาอย่างเหมาะสมต่อไป

สิ่งที่อยากจะย้ำเตือนก็คือการเป็น homosexual เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง (จากปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์และกายภาพ) เจ้าตัวไม่ได้เลือกที่จะเป็น *** ดังนั้นมันไม่ใช่ความผิดของใคร *** ไม่ใช่ความล้มเหลวของพ่อแม่หรือของลูก การเป็น homosexual ก็ไม่ได้แปลว่าอนาคตของเค้าจะแย่กว่าคนอื่น รวมถึงไม่ได้แปลว่าอนาคตชีวิตคู่เค้าจะแย่กว่าคู่ชายหญิงทั่ว ๆ ไปด้วย สังคมไทยเองในระยะหลังเริ่มเปิดยอมรับได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่เราจะมีวุฒิภาวะในการก้าวข้ามและยอมรับในเรื่องเหล่านี้ได้มากขึ้นครับ

ปล. ภาพประกอบคราวนี้เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องที่ชอบ Brokeback Mountain —- ดูแล้วขอสดุดีและไว้อาลัยแก่ฮีธ เลคเจอร์มา ณ ที่นี้

บทความโดย หมอคลองหลวง จาก Facebook สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

เมื่อเด็กเล่นจู๋ เมื่อหนูเล่นจิ๋ม

พ่อแม่หลายคนมาปรึกษาเรื่องเด็กๆเล่นอวัยวะเพศ ดูเป็นเรื่องน่าตกใจ แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องปกติที่พบบ่อยๆในเด็ก

โดยเฉพาะเด็กเล็กตั้งแต่ ขวบจนถึงวัยก่อนเข้าโรงเรียน เด็กจะชอบสำรวจร่างกาย สนใจเรื่องต่างๆ อยากรู้ ขี้สงสัย บางครั้งที่เผลอไปเล่น ไปจับโดน ไปถูๆ สัมผัส ซึ่งทำให้สนุกเพลิดเพลินและรู้สึกดี

dfsfsfsf

พ่อแม่หลายคนตกใจมาก บอกหมอว่า เห็นลูกเอาหมอนมาถูๆตรงจิ๋ม เอามือไปจับๆเกาๆ บางคนเอาขาไขว้กันบิดๆไปมา แล้วก็มีตัวเกร็งๆ หน้าแดง หลังมีพฤติกรรมแบบนั้น พ่อแม่บางคนก็สงสัยคิดว่าลูกมีอาการชัก แต่ส่วนใหญ่เด็กที่เป็นก็จะรู้ตัวดี และจะไม่ชอบใจถ้าถูกห้ามไม่ให้ทำ

ส่วนใหญ่เด็กที่มีอาการแบบนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศระหว่างชายหญิง แต่เป็นความรู้สึกดีๆที่เผลอไปทำเข้า แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ และพฤติกรรมเช่นนี้ ไม่ได้เป็นอันตราย หรือผิดปกติแต่อย่างใด

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่อเจอแบบนี้เข้า ก็คือ อย่าไปดุว่า ลงโทษเด็ก ให้เบี่ยงเบนความสนใจเด็ก เช่น ชวนเล่นอย่างอื่นที่สนุกเหมือนกัน การดุว่าเด็กแรงๆว่าสิ่งที่เด็กทำนั้นน่าอาย จะทำให้เด็กมีทัศนคติทางลบในเรื่องเพศได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่

ถ้าเด็กพอคุยรู้เรื่องหน่อยก็ลองบอกเค้าว่า พ่อแม่จะชอบมากกว่า ถ้าเค้าไปทำอย่างอื่นแทน และถ้าทำแบบนี้ไม่อนุญาตให้ทำต่อหน้าคนอื่น

ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมแบบนี้เลิกยาก เพราะเด็กทำแล้วเพลิดเพลิน แต่ส่วนใหญ่เด็กที่ทำมักมีลักษณะ ไม่ค่อยมีคนเล่นด้วย อยู่คนเดียว เบื่อๆ เหงาๆ ขาดกิจกรรมให้ทำ พบว่าหลังจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดให้ความสนใจเด็กมากขึ้น มีเวลาเล่นกับเด็ก หรือให้เด็กมีกิจกรรมทดแทน พฤติกรรมนี้จะค่อยๆลดลงไปเอง

แต่ถ้าการเล่นอวัยวะเพศของเด็กมีลักษณะที่หมกมุ่นอย่างมาก มีพฤติกรรมที่แปลกๆเช่น เล่นเอาของมาสอดใส่ ร่วมด้วย บางครั้งคงต้องระวังว่าเด็กมีประวัติถูกล่วงละเมิดทางเพศร่วมด้วยหรือไม่

แต่อย่างที่บอก อย่ากังวลเรื่องนี้จนเกินไป ส่วนใหญ่ถ้าทำตามที่บอกก็จะค่อยๆดีขึ้น ให้สนใจในพฤติกรรมโดยรวมของเด็กมากกว่าพฤติกรรมนี้

บทความโดยหมอมินบานเย็น‬  จาก Facebook เข็นเด็กขึ้นภูเขา

จัดการกับอารมณ์โกรธแบบ “คนพาล” หรือ “คนพุทธ”

ในหัวคุณแต่ละวันมักมีเครื่องกระตุ้นโทสะผุดขึ้นมาเองเช่น ใบหน้าที่ทำอารมณ์เสีย เสียงด่าที่น่าเจ็บใจ เหตุการณ์ที่ชวนให้ขุ่นมัวหรือถ้าไม่มีอะไรเลยก็อาจเกิดความคิดบั่นทอนกำลังใจตัวเองเสียอย่างนั้น

ดูๆไป ในหัวคนเราเหมือนเต็มไปด้วยหลุมพรางล่อลวงให้ตกหล่นลงไปติดกับ หรือไม่อีกที ก็เหมือนเต็มไปด้วยกับระเบิดถ้าไหวตัวไม่ทัน เผลอเหยียบเมื่อไรใจก็แตกพังเป็นเสี่ยงๆเมื่อนั้น

พวกเราโต้ตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวได้หลายแบบ มีตั้งแต่แบบแย่ที่สุด เยี่ยงคนพร้อมจะเป็นพาล ไปจนถึงดีที่สุด เยี่ยงคนพร้อมจะเป็นพุทธ

แบบที่แย่ที่สุด คือเลยตามเลย คลื่นความคิดชั่วดีซัดมาอย่างไร ก็ปล่อยตัวปล่อยใจ ลอยตามมันไปอย่างนั้น เอาแต่ยึดมั่นว่านี่เป็น ‘ความคิดกู’ แบบนี้มีแนวโน้มจะก่อทุกข์หนักให้คนอื่นก่อน เช่น พูดจาทิ่มแทงกันแบบไม่เกรงใจ ซึ่งก็อาจย้อนกลับมาสร้างทุกข์สาหัสให้ตัวเองทีหลัง ผ่านการโดนใครต่อใครเอาคืนบ้าง บางทียิ่งกว่าแค่คำพูด

แบบที่แย่รองลงมา คือฝืนต้านทุกความคิดชั่วร้าย เห็นความคิดที่ชั่วร้ายเป็นศัตรูที่ต้องต่อสู้ให้ตายกันไปข้างหนึ่ง แบบนี้มีแนวโน้มจะก่อทุกข์สาหัสให้ตัวเองก่อน กล่าวคือ พอพบว่าไม่ได้ผล ห้ามไม่ได้ ก็ทรมานใจกว่าเดิม ซึ่งจะขยายผลออกไปสร้างทุกข์ร้อนให้คนอื่นทีหลังผ่านการแผ่กระแสความเครียดให้ใครต่อใครพลอยอึดอัด

แบบที่ดีหน่อยคือรีบหันไปคิดถึงเรื่องอื่นที่น่าคิด เห็นเรื่องอื่นสำคัญกว่า หรืออย่างน้อยน่าใส่ใจกว่า แบบนี้มีแนวโน้มจะก่อสุขอ่อนๆให้ตัวเองก่อน
กับทั้งไม่ต้องทำให้ใครเดือดร้อนในภายหลัง แต่หลายครั้งคุณอาจพบว่า ยังคงคาค้างใจกับความคิดแย่ๆ แล้วสะสมความทุกข์พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ เครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัวได้เหมือนกัน

แบบที่ดีที่สุด คือพินิจให้เกิดการรู้ความจริงว่า กลุ่มความคิดที่ ‘ไม่ตั้งใจคิด’ นั้น ผ่านมา ชนิดที่เราควบคุมมันไม่ได้ แล้วก็จะผ่านไป ชนิดที่มันควบคุมเราไม่ได้เช่นกัน แบบนี้มีแนวโน้มจะก่อสุขแบบสบายใจหายห่วง ไม่ต้องสะสมความเครียดอันเกิดจากการ ‘แกล้งไม่สน’ บ่อยๆได้ด้วย

การเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยความเป็นอนัตตา ควบคุมดังใจเราไม่ได้ และมันเองก็ไม่อาจควบคุมเราได้ตลอดไปคือการเห็นที่มีค่า มีความเป็นพุทธ
มีความเป็นบันไดต่อยอดไปสู่ความพ้นทุกข์ทางใจได้ ทั้งในแบบชั่วคราว และในแบบเด็ดขาด

บทความโดย ดังตฤณ

วิธีรับมือยามสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ถาม – หากต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น ลูกหรือพ่อแม่ เราจะมีวิธีรับมืออย่างไรคะ

ตรงนี้เป็นคำถามที่ถือว่าเข้าประเด็นของพุทธศาสนาเลยนะ พุทธศาสนาบอกว่าทุกข์อันดับหนึ่ง ทุกข์หมายเลขหนึ่ง ความทุกข์ซึ่งมีดีกรีสูงสุดเลย เห็นจะไม่มีอะไรเกินไปกว่าการต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก ไม่ว่าจะจากเป็นหรือจากตายก็ตาม

การที่เราจะทำใจหลังจากที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ณ วันเกิดเหตุ ณ จุดเกิดเหตุ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันนะ มันจะมีพลังผูกมัดใจเข้าไว้ด้วยกันของคนอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะคนอยู่ด้วยกันมาดีๆ อยู่บนเส้นทางบุญมาด้วยกันนี่นะ มันจะมีแต่กระแสความรู้สึกที่อ่อนโยน ละมุนละไม แล้วก็มีความรู้สึกแสนดี มีความรู้สึกอ่อนหวาน มีความรู้สึกเหมือนกับทุกอย่างสว่างไสวไปหมดเมื่อมีกันและกัน แม้กระทั่งนั่งกินข้าวด้วยกันนี่นะ มันก็เหมือนกับมีสายใยผูกพันระหว่างเรากับเขา จนกระทั่งถึงจุดๆ หนึ่ง เราไม่รู้หรอกว่ามันแน่นแค่ไหน จนกระทั่งเขาต้องจากไป อาจจะจากไปต่างจังหวัดหรืออาจจะจากไปต่างประเทศ หรืออาจจะจากไปจากโลกนี้ก็ตาม ถึงวันนั้นเราจะค่อยรู้ว่าเราผูกพันกับเขาหรือเธอมากแค่ไหน

การที่เราไม่เตรียมตัวเตรียมใจ หรือว่าไม่เตรียมเนื้อเตรียมตัวไว้เลย แล้วจะถามว่าหากต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก จะให้ทำอย่างไร ตรงนั้นมันสายเกินไปครับ

พระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้ไปทำใจ หลังจากที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว เพราะว่าอย่างบางคนนะพอสูญเสียลูก สูญเสียสามีพร้อมกันในวันเดียวกัน หรือในเวลาไล่ๆ กัน ในสมัยพุทธกาลเคยมีมาแล้วที่เป็นบ้า แล้วก็ผ้าผ่อนนี่หลุดเลยนะ ร้อนถึงพระพุทธองค์ต้องทรงช่วยกลับฟื้นคืนสติให้

วิธีที่เราจะไม่โศกเศร้าเสียใจกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักมากเกินไป มีอยู่ทางเดียวคือ เราต้องเห็นความจริงไว้ก่อนว่าวันหนึ่งเขาจะจากไป คือต้องมีการทำใจไว้เลยนะครับ

สมัยนี้ก็มีวิทยาการมากมายหลากหลายที่จะบอกได้คร่าวๆ บอกได้แบบล่วงหน้านะครับว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อไหร่ ด้วยโรคอะไร ด้วยมะเร็ง หรือว่าด้วยอะไรก็แล้วแต่ ที่มันเป็นโรคกรรมพันธุ์ ที่มันเช็คได้ง่ายๆ ด้วยวิทยาการยุคใหม่นะ

หัดพูดถึงความตายกันบ้าง อย่าพูดถึงแต่การอยู่ ครอบครัวที่พูดถึงความตาย บางครอบครัวกลัวว่ามันจะเป็นอัปมงคล ในขณะที่ครอบครัวพุทธนะ ได้รับการสนับสนุนจากพระพุทธเจ้าว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะพูดไว้บ้าง

พูดไว้เพื่อที่จะให้ใจไม่เหลิง ไม่หลงไปว่าจะอยู่กันไปเรื่อยๆ มันมีชะงักขึ้นมาสักกึ๊กนึง มันมีความรู้สึกขึ้นมาสักจึ๊กนึงว่า เออ ไอ้ที่อยู่ ๆ กันมีความสุขเหลือเกินอย่างนี้ มันไม่ใช่ของถาวรนะ มันไม่ใช่จะเกิดขึ้นตลอดไปนะ แค่ได้พูดได้คุยกันบ้าง ก็เรียกว่าเป็นการเจริญมรณสติได้บ้างแล้ว เป็นการเจริญมรณสติแบบอ่อนๆ แล้วนะครับ

ที่บอกว่าเป็นการเจริญมรณสติแบบอ่อนๆ เพราะอะไร
เพราะว่ามันเป็นแค่การพูดกัน มันเป็นการเตือนให้ระลึกถึงความตายในแบบง่ายๆ ในแบบที่มันอาจจะคิดขึ้นมาสักวินาทีสองวินาทีนะครับว่า เออ มีสิทธิ์ที่จะตายนะ แล้วทำบ่อยๆ มันก็กลายเป็นความเคยชิน

แต่ถ้าหากว่าจะเจริญมรณสติอย่างกลางหรือว่าอย่างแก่กล้าเลยนะครับ อันนี้มีทางเดียวคือเราต้องค่อยๆ หันเข้ามาดู เข้ามาพิจารณาว่า อะไรบ้างที่เป็นองค์ประกอบทางกายทางใจนี้ที่มีความเที่ยง ที่มีความทน นับเริ่มตั้งแต่ลมหายใจเลย มันไม่เที่ยงอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง แต่คนเราไม่เคยเห็น ไม่เคยสังเกต แล้วถ้าไม่สังเกตมันก็ไม่ยอมรับ

คนเราจะมีแต่การเพ่งเล็งไปถึงสิ่งที่กำลังอยากได้เฉพาะหน้า ใจมันเลยผูกอยู่กับกิเลส ใจมันเลยผูกอยู่กับไอ้โลกภายนอก ที่มันดูเหมือนกับจะมีอะไรมาล่อตาล่อใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันๆ แต่ไม่ได้กลับไปสังเกตความจริงขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับตัวเองเลยนะว่า แม้กระทั่งลมหายใจ เรายังเอาไว้ไม่ได้ แล้วชีวิตทั้งชีวิต จะมีความเป็นไปได้ที่เราจะรักษาไว้ได้อย่างไร

เมื่อเราไม่สามารถจะรักษาชีวิตของตัวเองไว้ได้ ก็ไม่สามารถที่จะรักษาชีวิตของคนอื่นไว้ได้เช่นกัน

มันต้องมองออกมาจากตัวเองก่อนนะ มองอย่างตระหนัก ลมหายใจของเราไม่เที่ยง ลมหายใจของคนอื่นก็ไม่เที่ยงเช่นกัน อิริยาบถของเราไม่เที่ยง อิริยาบถของคนอื่นก็ไม่เที่ยงเช่นกัน ความสุข ความทุกข์ หรือว่าจิตจะสงบหรือฟุ้งซ่านของเรา มันก็ไม่เที่ยง

ถ้าสังเกตอยู่ เห็นอยู่ แล้วก็เปรียบเทียบกับคนอื่น เออ ของเขาก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน แยกดูเป็นส่วนๆ อย่างนี้ รู้จริงเป็นส่วนๆ อย่างนี้ ในที่สุดมันจะถอนจากความยึดมั่นถือมั่นว่าคนเราจะไม่ตาย คนรักเราจะไม่จากไป ได้อย่างเด็ดขาดนะครับ

ถึงวันที่เขาไป เราอาจจะรู้สึกเสียใจ คือเป็นธรรมดานะอย่าปฏิเสธเลย อย่าไปเล่นกับความรู้สึกว่าฉันจะต้องไม่ทุกข์ เมื่อญาติอันเป็นที่รักเสียชีวิตไป แต่ให้เล่นกันตรงนี้ดีกว่าว่าความยึดของเรา มันยังรุนแรงแค่ไหน หรือว่ามีความผ่อน มีความบรรเทาลงไปแล้ว จากการได้เจริญสติตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนตามลำดับนะครับ

ตอบคำถามโดย ดังตฤณ

โรคทางจิตใจหลังคลอด

เมื่อวานมีข่าวเด็กทารกอายุประมาณ 2 อาทิตย์จมน้ำเสียชีวิต บางข่าวบอกว่าแม่อุ้มกระโดดน้ำ บางข่าวบอกว่าแม่อุ้มเดินลงไปแล้วทำหลุดมือ ในสังคมออนไลน์มีการแสดงความคิดเห็น ซึ่งรวมถึงการต่อว่าผู้หญิงคนนี้ไปต่างๆนานา … ก่อนจะตั้งครรภ์และคลอดลูก เธอเจอเรื่องราวอะไรมาบ้าง ก็คงไม่มีใครทราบข้อเท็จจริง

สิ่งหนึ่งที่ควรนึกถึงก็คือ “กลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอด” ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยมักไม่ได้ไปรับการรักษา นอกจากตัวเองจะทรมานแล้ว คนใกล้ชิดก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาพัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ ปัญหาระหว่างสามีภรรยา

การคลอดบุตรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้หญิง โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเพศ และบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบในการเป็นแม่ (นอกเหนือจากที่เป็นภรรยา เป็นลูกสะใภ้ เป็นลูกสาว เป็นพี่/น้องสาว เป็นลูกจ้าง ฯลฯ ด้วย) ถ้าหากมีปัจจัยกระตุ้นอย่างอื่นด้วย เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำงาน ปัญหาเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ผู้หญิงหลังคลอดมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น

“ภาวะ” ทางจิตใจที่พบได้บ่อยหลังคลอด คือ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blue)   ส่วน “โรค” ทางจิตใจที่พบได้บ่อยหลังคลอด คือ โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) และ โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)

10686757_585837678186919_8005014420773020157_n

(1) ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue หรือ Baby blues)

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากๆ โดยสามารถพบได้ถึงสูงถึง80%ของสตรีหลังคลอด ถือว่าเป็นเรื่องปกติ อาการจะไม่รุนแรง ไม่กระทบต่อการดูแลเด็ก มักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรก พบมากช่วงวันที่ 3-5 หลังคลอด และจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์

โดยอารมณ์จะขึ้นลงง่าย – หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลไปหมด รู้สึกเศร้า ร้องไห้ง่าย , ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

ดังนั้น หากอาการเป็นอยู่นานกว่า2สัปดาห์ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเป็นโรค ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดจะถือเป็นภาวะปกติ จึงไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่การดูแลทางจิตใจก็จะช่วยให้อาการหายไปเร็วขึ้น ซึ่งคนใกล้ชิดสามารถทำโดยการให้กำลังใจว่านี่ไม่ใช่โรค ไม่ใช่ความอ่อนแอ , หาความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกเพื่อให้มีความมั่นใจในการเลี้ยงดู , คุณพ่อผลัดเปลี่ยนกันดูแลเด็ก ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่คุณแม่แต่เพียงผู้เดียว

อย่าลืมว่าการดูแลแม่ มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลลูกโดยตรงเลยค่ะ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

(2) โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือประมาณ 10-15% ผู้ป่วยบางรายเริ่มมีอาการตั้งแต่ยังไม่คลอด แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วง 2-3 เดือนแรก อาการต่างๆจะเหมือนโรคซึมเศร้าทั่วไป ที่จะมีอาการทุกวันและเกือบทั้งวัน คือ

ด้านอารมณ์ : มีอารมณ์ซึมเศร้า , หงุดหงิดง่าย , เบื่อหน่ายไปหมด ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร ทั้งเรื่องทั่วๆไป เช่น การดูแลตัวเอง หรือสิ่งที่เคยชอบทำ , รู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ดีไม่พอ ไร้ค่า ไม่มีความสามารถ , ไม่อยากเข้าใกล้ดูแลลูกทำให้รู้สึกผิด , ร้องไห้ง่ายอย่างไม่มีเหตุผล

ด้านความคิด : ไม่มีสมาธิ ทำให้หลงๆลืมๆ ตัดสินใจไม่ได้แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ , มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องความตายหรือความคิดอยากฆ่าตัวตาย , และอาจจะมีความคิดกังวลแปลกๆโผล่ขึ้นมา เช่น คิดกลัวว่าตัวเองจะทำร้ายลูก

ด้านร่างกาย : อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง , นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป , เบื่ออาหารหรือทานมากผิดปกติ , เคลื่อนไหวเชื่องช้าเซื่องซึมหรือกระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข , และอาการทางกายอื่นๆ เช่น ปวดหัว ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม มือเท้าชา เป็นต้น

สิ่งที่แตกต่างจาก ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) ก็คือ อาการจะรุนแรงกว่า , อาจจะมีความคิดอยากตาย , คงอยู่นานกว่า2สัปดาห์ และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเลี้ยงดูทารก

การรักษา จะไม่แตกต่างจากการรักษาโรคซึมเศร้าทั่วไป นั่นคือ การใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด โดยยาที่มักจะเลือกใช้เป็นกลุ่มแรกคือ ยาต้านเศร้า (antidepressant) กลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitor (SSRI) แทบไม่พบรายงานว่ามีผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อทั้งแม่และเด็ก ผ่านออกทางน้ำนมน้อยมาก สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยแม้ว่าจะอยู่ในช่วงให้นมบุตร

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

(3) โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยคือประมาณ 0.1-0.2% แต่อาการมักรุนแรง อาการมักเริ่มใน 2-3 วันแรกหลังคลอด น้อยรายมากที่มีอาการหลัง 2 สัปดาห์แรกไปแล้ว

อาการเริ่มแรกคือผุดลุกผุดนั่ง หงุดหงิด นอนไม่หลับ หลังจากนั้น ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีแบบไม่สมเหตุสมผลก็ได้ อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงเร็ว มีพฤติกรรมวุ่นวายแปลกประหลาด มีความคิดหลงผิด (delusion) เช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ลูกของตนเอง มีความคิดหลงผิดเกี่ยวกับไสยศาสตร์ หวาดระแวง , ประสาทหลอน (hallucination) เช่น มีหูแว่ว (auditory hallucination) เป็นเสียงสั่งให้ทำร้ายลูกตัวเอง

ผู้ป่วยที่มีโรคจิตหลังคลอดต้องพบแพทย์ทันที จัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช มักจำเป็นต้องรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการค่อนข้างรุนแรง มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตัวเองและ/หรือผู้อื่น

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

กลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอดเป็นโรคที่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าที่ควร ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาการของโรคย่อมจะส่งผลเสียในหลายๆด้าน ทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อพัฒนาการของเด็ก ความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก และชีวิตคู่ ดังนั้นทั้งตัวคุณแม่เองและคนใกล้ชิดจึงควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และไม่นิ่งนอนใจเมื่อพบอาการผิดปกติ

บทความโดย พญ. พาพร เลาหวิรภาพ

สงสัยลูกมีแฟน

เรื่องหนักใจของพ่อแม่ที่มีลูกเข้าวัยรุ่นเห็นจะไม่พ้นเรื่องมีแฟน เวลาลูกเริ่มมีท่าทางแปลกๆ เหมือนมีความลับ มีโทรศัพท์มาบ่อยๆ พูดโทรศัพท์เสียงอ่อนเสียงหวาน ถามไม่ยอมบอกว่าเพื่อนคนไหนโทรมา ชักแต่งตัวนานขึ้น พ่อแม่เริ่มหันหน้าเข้าหากันว่าจะเอาอย่างไรดี มีลูกสาวก็หนักใจว่าจะไปพลาดท่า มีลูกชายกลัวพลาดท่าโดนสาวจับ

เรื่องมีแฟนเป็นเรื่องที่เป็นไปตามวัย ช่วงวัยรุ่นความสนใจเพศตรงข้ามเป็นอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศ นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางเพศ เกิดอารมณ์เพศ ยังเกิดอารมณ์รักใคร่แบบโรแมนติกกับเพื่อนต่างเพศด้วย ความสนใจอยากสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิด อยากมีความรัก เหมือนพี่ เหมือนเพื่อน เหมือนในภาพยนตร์ในนิยายที่เคยดูเคยอ่าน

ช่วงก่อนวัยรุ่นบางทีเป็นเรื่องล้อกันเล่นว่าคนนั้นคนนี้เป็นแฟนกัน เด็กมักไม่ได้จริงจังกับการเป็นแฟนกันจริงๆ เป็นแค่เรื่องล้อกันเล่น ช่วงพรีทีนอาจจะมีความสนใจบ้าง แต่มักไม่พัฒนาไปถึงขนาดเป็นแฟน อาจจะคุยกันในหมู่เพื่อนสนิทว่าชอบผู้ชาย/ผู้หญิงแบบไหน แต่เมื่อย่างเข้าวัยรุ่น ความสนใจจะจริงจังขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าเด็กวัยรุ่นทุกคนจะสนใจเรื่องแฟน หลายคนมีเรื่องอื่นให้สนใจมากกว่าเรื่องแฟน จนโตเป็นผู้ใหญ่ถึงได้คิดเรื่องจะมีแฟน

63392598c

ลูกเข้าวัยรุ่นและมีท่าทางแปลกๆสงสัยจะเริ่มมีแฟน พ่อแม่มักจะใช้วิธีแอบ แอบฟังโทรศัพท์ แอบค้นกระเป๋า แอบรื้อห้องนอน ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกว่าคุยกับพ่อแม่ไม่ได้ บางคนใช้วิธีคาดโทษว่าถ้ามีแฟนจะจัดการ ในที่สุดความสงสัยจะเป็นความสงสัยตลอดกาล ไม่มีโอกาสจะได้รู้ว่าลูกมีแฟนเป็นใคร เขาจัดการกับเรื่องแฟนได้หรือไม่

วิธีที่ช่วยให้พ่อแม่รู้เรื่องแฟนของลุกได้ ต้องเริ่มจากการคุยกับลูกมาก่อนวัยรุ่น พอเริ่มจะแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว เริ่มคุยกันเรื่องตัวเขาเองกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เล่าเรื่องความสนใจกันและกันของผู้หญิงกับผู้ชาย ให้ลูกเห็นว่าเรื่องนี้คุยกับพ่อแม่ได้ เด็กเองถึงวัยที่สนใจเพศตรงข้าม เขาอยากได้ยินว่าพ่อแม่คิดอย่างไรในฐานะที่พ่อเป็นผู้ชาย แม่เป็นผู้หญิง

เวลาที่เขาสนใจใครหรือมีใครมาสนใจ เขาอยากรู้เรื่องความรัก เด็กมักมีความคิดเพ้อฝันเรื่องความรัก อยากรู้ว่ารักแท้เป็นอย่างไร การที่เขาแสดงออกเช่นนี้กับตนเองแสดงว่าเขามาสนใจหรือเปล่า ถ้าเขาเป็นฝ่ายไปสนใจใครบางคนจะแสดงออกอย่างไรให้อีกฝ่ายรับรู้ หากพ่อแม่คุยกับลูกได้มาก่อนลูกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเรียนรู้มุมมองของพ่อแม่ได้ มุมมองของพ่อแม่จะถูกนำเข้าไปเป็นแนวคิดเรื่องความรักสำหรับลูก เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ทั้งได้รู้ว่าลูกเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และได้ปลูกฝังความคิดเรื่องการคบหาเพื่อนต่างเพศ

หลังจากพูดคุยกันระยะหนึ่งควรแนะนำให้ลูกชวนมาที่บ้าน ไม่ว่าพ่อแม่จะยอมรับหรือไม่ ถ้าเด็กสนใจเรื่องแฟนเขาก็มีแฟน การชวนมาที่บ้านไม่ใช่การส่งเสริมเรื่องแฟน แต่เป็นการกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ว่าต้องอยู่ในสายตา และพ่อแม่จะช่วยดูว่าทั้งสองคนเป็นอย่างไร ลูกจะมีความเกรงใจที่พ่อแม่ยอมรับในตัวแฟนของเขา และแฟนของลูกเองก็เกรงใจที่ผู้ใหญ่รับรู้ความสัมพันธ์ของเขาสองคน

ถ้าโดยรวมไม่มีปัญหามากนัก เพียงแต่ดูให้อยู่ในสายตา ให้คำปรึกษาเวลาที่ลูกมีปัญหาเรื่องแฟน ความสัมพันธ์ของเด็กๆจะก้าวไปตามครรลอง แต่ถ้าคนที่เข้ามาชอบพอลูกค่อนข้างมีปัญหา แต่ลูกไม่ยอมรับฟัง ยังอยากจะคบกันต่อไป สิ่งที่พ่อและแม่จะทำได้คือกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ ลูกอาจต้องเรียนรู้ด้วยตนเองว่าการมีแฟนที่มีปัญหาทำให้เขามีเรื่องยุ่งยากใจ และเขาสามารถตัดสินใจออกแบบความรักของตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีปัญหา

สิ่งต่อไปที่ต้องคุยกับลูกเป็นเรื่องความใกล้ชิดระหว่างชายหญิง เป็นแฟนกันแล้วมักอยากอยู่ด้วยกันสองต่อสอง การใกล้ชิดกันจะเริ่มมีความรู้สึกที่ต่างไปจากแค่ความรัก อารมณ์จะถูกกระตุ้นให้รู้สึกอ่อนไหว อยากใกล้ชิดกันมากขึ้น หากไม่ออกจากสถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณืเช่นนี้อาจเกิดสิ่งที่เกินกว่าจะรับผิดชอบได้ การคุยเรื่องเช่นนี้ต้องการท่าทีที่ไม่ตำหนิกล่าวหาเด็กไปก่อน แต่ควรเน้นเรื่องความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งเด็กสามารถรับรู้ได้กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ให้เขาเห็นผลที่ตามมา ภาระที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและกับแฟน การตัดสินใจที่ดีจะทำให้ไม่เกิดสถานการณ์ความเสี่ยง

มีพ่อแม่น้อยคู่ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาเรื่องแฟนให้กับลูก ส่วนใหญ่เด็กรู้อยู่ในทีว่าพ่อแม่ไม่ยอมรับ พ่อแม่เองใช้การปฏิเสธเพื่อจะบีบให้เด็กไม่กล้าที่จะเรียนรู้เรื่องรักในวัยเรียน ซึ่งใช้ได้ผลกับเด็กบางคน เพื่อนเป็นแหล่งเดียวที่ให้คำปรึกษาเรื่องแฟน สภาพปัญหาอย่างที่เป็นอยู่พ่อแม่อาจต้องมองเรื่องแฟนของลูกใหม่ ทำอย่างไรค่านิยมเรื่องความสัมพันธ์กับแฟนที่ไปไกลกว่าที่ควร จะไม่ทำให้ลูกไม่รู้จะตัดสินใจยืนอยู่ท่ามกลางเพื่อนรอบข้างที่ยอมรับค่านิยมนี้อย่างไร แล้วต้องตามไปกับเพื่อนที่บอกว่าไม่เป็นไร

หากพ่อแม่พร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องแฟนของลูกไปกับลูก เขาอาจสมหวัง ผิดหวัง หรือผิดพลาดไปกับเรื่องแฟน แต่เขาจะได้เรียนรู้แนวคิดที่ดีจากพ่อแม่ เป็นพื้นฐานให้พัฒนาความสัมพันธ์เรื่องแฟนในวันข้างหน้า อย่างมีสติ ใช้การตัดสินใจที่มั่นคงทางอารมณ์ รู้จักวิธีรักษาความสัมพันธ์ที่ดีให้ยืนยาวพอที่จะสร้างครอบครัวใหม่ที่มีคุณภาพต่อไป

บทความโดย พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล

เรื่องของเด็กออทิสติค

เรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะมากทีเดียว แต่คิดว่าในขณะนี้หลายท่านอาจจะเคยได้ยินคำนี้มากันพอสมควร หลายท่านอาจจะกำลังสงสัยว่า ลูกของเราเป็นออทิสติคหรือเปล่า หลายท่านอาจจะกำลังมีลูกที่เป็นออทิสติค คุณครูอาจบอกว่าในชั้นเรียนของลูกจะมีเด็กบางคนที่เป็นออทิสติคมาเรียนร่วมอยู่กัน หลายท่านอาจกังวลว่าเจ้าคำว่าออทิสติคนี้เป็นอย่างไร แล้วมาเด็กที่เขาเป็นมาเรียนร่วมกับลูกเราจะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่

คำว่า ออทิสติคหรือเรื่องของเด็กออทิสติค เป็นภาวะของโรคอย่างหนึ่งที่พบในเด็ก จริง ๆแล้วเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความสามารถทางพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ การพูด ภาษา และการสื่อความหมายที่ไม่เหมาะสมกับวัย เป็นอาการที่เป็นมาตั้งแต่แรกเกิด แต่อาจจะไม่สังเกตเห็นตั้งแต่เริ่มแรกที่เด็กเป็น เนื่องจากอาการยังไม่ชัดเจนนัก ส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตอาการได้ เมื่อเด็กเข้าสู่วัย 2-3 ขวบ

จริง ๆ แล้วในขวบปีแรกอาจจะพอเห็นได้ว่า เด็กจะมีลักษณะเฉยเมยไม่สบตา การสบตาเราถือว่าเป็นเบื้องต้นของการสื่อสาร ลองนึกดูว่าการที่เราสื่อสารหรือมีสัมพันธภาพกับคนอื่นนั้นได้เริ่มจากอะไร ก็เริ่มตั้งแต่เราสามารถสบตากันได้ เรื่องภาษานั้นยังเป็นสิ่งที่มาในภายหลัง ความสามารถในเรื่องการสบตาของเด็กนั้นควรจะมีตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 2 เดือน ปัจจุบันเด็กอาจมีความสามารถในเรื่องการสบตาได้เร็วกว่านั้น ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยเล็ก ๆ 2-3 เดือนแรกลองสังเกตดู ว่าลูกของคุณสามารถสบตาได้หรือยัง หรือเขามีปฏิกิริยาโต้ตอบบ้างหรือไม่เมื่อเขาถูกหยอกล้อหรือเล่นด้วย โดยปกติทั่วไปในเด็กเล็กขวบปีแรก หรือตั้งแต่เราอุ้มลูก เวลาที่เราเล่นกับลูก ลูกมักจะหันมามองและสบตาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วก็สนใจ หรืออาจจะมีทำโต้ตอบบางอย่างให้เราเรียนรู้ได้ว่าเขารับการสื่อสารและจะพยายามจะสื่อสารอะไรบางอย่างให้กับเรา เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่มีภาษาพูดเท่านั้นเอง

Autistic-Kids-and-Symptoms

ในเด็กออทิสติคเราจะไม่เห็นลักษณะการสื่อสารอย่างนี้ บางทีเด็กจะไม่สนใจดูเหมือนจะเฉยเมย บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายมาก ๆ เลยคือเขาไม่โต้ตอบอะไรกับใคร อุ้มเขาหรือทำอะไรกับเขา เขาก็ไม่ค่อยมีปฏิกิริยา คล้ายกับว่าเขาอยู่ในโลกของเขาเอง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจควรจะต้องรีบปรึกษาสถานพยาบาลที่คุณให้การดูแลลูกอยู่ เพราะว่าภาวะออทิสติคนั้นยิ่งพบได้เร็ว หรือยิ่งให้การกระตุ้นพัฒนาการได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อลูกเท่านั้น

ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกช่วงวัย 2-3 เดือนต้องเข้าใจแล้วว่าเราต้องกระตุ้นพัฒนาการเรื่องการสบตาให้กับลูก ต้องอุ้มลูก ยกมาในระดับที่ตรงกับสายตาของเรา เล่นหรือใช้ของเล่นบางอย่างที่อาจจะดึงความสนใจลูกทำให้เกิดการสบตาขึ้น ตรงนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการในเรื่องของการสื่อสารต่อไป

ในเด็กออทิสติกเมื่อเขาเริ่มโตขึ้นอาจจะเห็นพฤติกรรมบางอย่างที่คงอยู่เป็นเวลานาน ๆ ทั้งที่เด็กน่าจะพัฒนาต่อไปได้ เช่น การเดิน ในเด็กบางคนจะมีลักษณะการเดินที่เขย่งปลายเท้า ซึ่งก็พบในเด็กปรกติทั่วไป แต่ไม่นานเด็กก็จะเดินได้เต็มฝ่าเท้าของเขา แต่เด็กในเด็กออทอสติกอาจพบว่าเขาจะเดินเขย่งอยู่อย่างนี้เป็นเวลานานแล้วไม่พัฒนาต่อไป หรือไม่ค่อยสบตา ไม่ค่อยสนใจคนที่อยู่รอบข้าง หรือสนใจเฉพาะใครบางคน เช่นอาจจะเป็นคนที่ดูแลเท่านั้นที่เด็กจะเข้ามาหา แต่ถ้าเป็นคนอื่นที่พยายามจะเล่นหรืออยู่ในครอบครัวเหมือนกันเด็กจะสนใจน้อยมาก

ตรงนี้อาจจะต้องสังเกตในเรื่องการได้ยินด้วย เพราะอาจเป็นจากการที่เด็กไม่ได้ยินเสียงก็ได้ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้โดย ถ้าได้การยินเสียงของเด็กเป็นปกติ เมื่อเขาได้ยินเสียงหรือมีเสียงบางอย่างเกิดขึ้น เด็กก็มักจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา เช่น อาจจะสะดุ้ง อาจจะหัน หรืออาจจะทำท่าอะไรให้รู้ว่าเขาได้ยินเสียงที่เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กได้ยินเสียงหรือไม่ หรือเขาไม่มีการโต้ตอบอะไรออกมาเลย ก็อาจจะต้องพาไปให้หมอตรวจในเรื่องของการได้ยินเสียงของเด็กก่อนว่าเป็นปัญหาเบื้องต้นหรือไม่

ถ้าตรวจแล้วเด็กได้ยินเสียงปรกติ แต่มีอาการที่ไม่สื่อสารกับใคร ไม่ค่อยสบตาใคร ชอบเดินเขย่งเท้า หรือชอบเล่นอะไรซ้ำ ๆ หมุนตัวไปมา ของเล่นที่เด็กชอบมักจะเป็นของที่หมุนได้ แล้วเด็กก็เล่นเพียงการหมุนที่ซ้ำ ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในเด็กปกติเขาจะมีความก้าวหน้าในเรื่องการเล่น เช่น ของเล่นบางอย่างเด็กจะเริ่มต้นเล่นแบบง่าย ๆ ต่อมาเขาจะพัฒนาการเล่นของเขาต่อไปเรื่อย ๆ แต่ในกลุ่มเด็กออทิสติคบางครั้งจะเห็นว่าการเล่นนั้นไม่มีการพัฒนา เช่น การเอาของมาต่อเรียงกันเป็นแถว ทุกครั้งที่เห็นของเล่นเด็กก็จะเอามาเล่นซ้ำ ๆ ต่อกันเป็นแถว หรือถ้าเห็นรถเด็กก็จะไม่เล่นอย่างอื่นนอกจากเอาไปไถกับพื้น หยิบเอาล้อขึ้นมาหมุนเป็นการเอามาเล่นแบบซ้ำ ๆ ไม่ค่อยแสดงปฏิกิริยาในเรื่องที่จะโต้ตอบกับคนรอบข้าง

นอกจากนี้เด็กออทิสติคมักมีปัญหาบางอย่างที่เป็นลักษณะซ้ำ ๆ เช่น ในเรื่องของการกินจะพบว่าเด็กจะไม่พัฒนาการในเรื่องการกิน ไม่กินอาหารที่นอกเหนือจากของเหลวหรือนมที่กินอยู่ หรือถ้าจะกินอะไรก็ต้องปั่นจนเละ เป็นอาหารที่เละซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้น หรือเวลาที่เราจะเปลี่ยนเอาของใหม่ ๆ มีกิจกรรมใหม่ ๆ เข้าไปเด็กจะมีปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรงมาก ตรงนี้ก็จะเป็นที่น่าสงสัย ว่าเด็กอาจจะเป็นออทิสติคได้ โดยเฉพาะถ้าอายุประมาณ 2 ขวบซึ่งเป็นระยะที่เด็กควรจะพูดได้ แล้วเขาก็ยังไม่พูด ยิ่งเป็นข้อน่าสงสัย

หลายครั้งพบว่าเนื่องจากคุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจว่า เด็กผู้ชายอาจจะพูดช้า หรือที่โบราณเขาเรียกกันว่าปากหนัก เราจึงอาจให้ความสนใจปัญหาการพูดช้าของเด็กชายค่อนข้างน้อย ทำให้เด็กผู้ชายที่เป็นออทิสติคมาพบแพทย์ค่อนข้างช้า ตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องดูว่าถ้าอายุ 2 ขวบแล้วเด็กยังไม่พูด แล้วไม่ค่อยรับการสื่อสาร มีการเล่นที่ซ้ำ ๆ กัน หรือซนไม่อยู่นิ่งร่วมด้วย ก็ควรจะมาปรึกษาแพทย์ว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องของออทิสติคหรือไม่

ในด้านภาษา เด็กออทิสติคอาจมีปัญหาตั้งแต่เด็กไม่พูดเลย หรือว่าพูดภาษาของตัวเอง โดยพ่อแม่หลายคนพบว่าลูกมีภาษาพูดที่เป็นของเขาเอง และจะพูดอยู่กับตัวเองเหมือนกับเป็นเสียงนกเเก้วนกขุนทองอย่างนั้น หรือเป็นเสียงอะไรบางอย่างที่เราไม่เข้าใจ แต่ดูเหมือนเขาอยู่ในโลกของเขา อยู่กับภาษาของตัวของเขาเอง นอกจากนี้ ภาษาอาจจะผิดปกติในแง่ของคำที่เด็กใช้ บางทีเด็กสามารถพูดได้ แต่คำที่เด็กเลือกมาใช้นั้นไม่ค่อยเหมาะสม เช่น เขาไม่สามารถแทนคำสรรพนามได้เวลาที่เขาจะพูดแทนตัวเอง หรือเมื่อพูดถึงคุณพ่อคุณแม่เขาจะสลับคำสรรพนามที่ใช้หรือสลับคำในประโยคที่ใช้ หรือพูดประโยคบางอย่างซ้ำ ๆ กลับไปกลับมาอย่างไม่เหมาะสม ตรงนี้ก็เป็นข้อที่จะต้องสงสัยว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องภาษาและการสื่อสารทางสังคมที่อาจจะเป็นออทิสติคได้

โดยทั่วไปในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ก็มักจะสังเกตอาการเหล่านี้ได้ในช่วงวัย 2-3 ขวบ แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ ท่านที่กระทั่งเด็กอายุ 4–5 ปี จึงจะสังเกตได้ชัดว่าลูกผิดปกติ เพราะว่าพอลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล ก็จะเริ่มพบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องการจมอยู่ในโลกของเขาเองชัดเจน บางครั้งเด็กมีทีท่าแปลก ๆ ไม่สามารถเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันที่โรงเรียนได้ หรือบางครั้งเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่จะพออยู่ได้บ้าง แต่ไม่สามารถทำกิจกรรมตามกลุ่มเพื่อน ไม่เข้าไปเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการ ไม่รู้จะเล่นกับเพื่อนอย่างไร มักแยกมาอยู่ตามลำพัง หรือบางทีเด็กก็จะซน อยู่ไม่นิ่งเป็นอย่างมาก เดินไปมา ไม่สามารถเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ตรงนี้ก็จะยิ่งทำให้น่าสงสัยมากขึ้นว่าเด็กอาจมีปัญหาในเรื่องของการเป็นออทิสติค

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ออทิสติคมีสาเหตุจากพัฒนาการทางสมองที่บกพร่องไป และในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาทางยาที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคออทิสติค การรักษายังคงเป็นการกระตุ้นและเสริมพัฒนาการที่บกพร่อง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสังคมและภาษา พัฒนาการที่จะมีความสำเร็จได้ดีนั้นพบว่าเราต้องกระตุ้นเด็กก่อนที่เด็กจะอายุ 4 ขวบ เด็กยิ่งอายุน้อยเท่าไร ความสำเร็จในการกระตุ้นพัฒนาการยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น

ถ้าคุณพ่อคุณแม่สนใจและเอาใจใส่ดูแลเขาอย่างใกล้ชิด เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่น่าสงสัย ก็อยากแนะนำให้พาเด็กมาตรวจเสียแต่เนิ่นๆ หลายครั้งพบว่า คุณพ่อคุณแม่มักลำบากใจ แม้จะเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติ แต่ก็ยังอยากให้ความหวังกับตัวเองว่า อีกสักพักลูกคงจะดีขึ้น เดี๋ยวลูกคงจะดีขึ้นเอง ไม่อยากให้เด็กมีอาการของความผิดปกติเกิดขึ้น

ในความเป็นจริงแล้วถ้าเขาเป็นออทิสติค เขาก็ได้เป็นตั้งแต่แรกเกิดแล้ว ถ้าแก้ไขและรักษาเขาให้ถูกทาง จะช่วยเขาได้มาก แต่ถ้าเราปล่อยไป ยอมรับความจริงตรงนี้ไม่ได้ ไม่ได้นำเด็กเข้ามาสู่กระบวนการรักษา เราอาจจะเสียโอกาสในการพัฒนาเขา เพราะการรักษาในทางยานั้นยังเป็นเพียงการรักษาตามอาการ ในกรณีที่เด็กมีอาการซุกซนมาก หรือมีความก้าวร้าวรุนแรง หรือมีอารมณ์แปรปรวนขึ้นลงค่อนข้างมาก

การใช้ยาเป็นการรักษาตามอาการ แต่ไม่ได้รักษาตัวโรคออทิสติคของเขา การช่วยเหลือเด็กออทิสติคนั้นต้องอาศัยการกระตุ้นพัฒนาการด้วยการวางแผนการปรับพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นรูปแบบ โดยคุณพ่อคุณแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน ยิ่งทำในเด็กเล็ก ก็จะยิ่งแก้ไขพัฒนาการได้ง่ายขึ้น จากการที่เราค่อย ๆ ปรับและแก้พัฒนาการด้วยการฝึกอย่างนี้ จะค่อย ๆ ทำให้สมองส่วนที่มีความบกพร่องของเขา มีโอกาสในการพัฒนาและก้าวหน้าขึ้นมาบ้าง เพราะสมองของเด็กเล็กนั้นยังมีโอกาสอีกมากที่จะพัฒนายิ่งขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจว่าลูกเป็นหรือไม่ ควรจะลองมาปรึกษาแพทย์ดูว่า ลูกคุณมีโอกาสจะเป็นออทิสติคหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติคแล้ว ก็ขอให้กำลังใจว่า เด็กที่เป็นออทิสติคนั้น แม้จะยังไม่มีการรักษาด้วยทางยาที่เฉพาะเจาะจง แต่การฝึกและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เป็นการช่วยเหลือที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นรักษาหลักของเด็กออทิสติค ไม่ว่าจะเป็นที่ใด ๆ ที่มีปัญหาเรื่องออทิสติคในโลกนี้ ก็จะใช้เรื่องการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นหลัก

พบว่าครอบครัวที่ยอมรับในปัญหา แล้วก็เข้ามาช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นอย่างดี อาการของออทิสติคเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเรื้อรัง ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็คงต้องอาศัยคุณพ่อคุณแม่ที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ได้ข่าวว่าในชั้นเรียนของลูกอาจจะมีเด็กออทิสติคมาเรียนร่วมด้วย แล้วเกิดความกังวลใจว่าเด็กที่มีความผิดปกติอย่างนี้จะเรียนร่วมกับเด็กปกติได้อย่างไร จริง ๆ แล้วเด็กออทิสติคหลาย ๆ คนนั้นมีพัฒนาการที่ดี และการที่เขาได้มีโอกาสในการเรียนร่วมกับเด็กปกติ จะช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าต่อไปในวันข้างหน้าเป็นอย่างดี เป็นข้อที่ดีที่เราได้มีโอกาสช่วยให้เด็กอีกหลาย ๆ คนในสังคมได้พัฒนาขึ้น แทนที่จะเป็นภาระกับสังคม

คุณครูที่ดูแลทั้งลูกของคุณเองและเด็กที่เป็นออทิสติค จะสามารถจัดการศึกษาให้กับเขาได้อย่างเหมาะสมทั้งสองคน ลูกคุณเองก็จะได้เรียนรู้บางอย่างจากเด็กที่มีความพิการและบกพร่อง ได้อยู่ในโลกของความเป็นจริงที่ต้องพบกับคนหลายๆ รูปแบบ เด็กที่พิการและบกพร่องก็จะได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นข้อดีจากตัวของลูกคุณเอง

จึงอยากให้ทุก ๆ ท่านที่เมื่อเข้าใจว่าเด็กออทิสติคเป็นอย่างไรแล้วได้ให้โอกาส ให้การช่วยเหลือเด็กออทิสติค ให้เขาได้มีโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในสังคมของเรา

 บทความโดย พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล

ความฉลาดทางอารมณ์ กับปมขัดแย้งแบ่งฝ่าย (ในการเลี้ยงลูก)

ปัญหาการควบคุมอารมณ์ ขาดการยับยั้งชั่งใจ โกรธง่าย ทะเลาะเบาะแว้ง ใช้ความรุนแรงทำร้ายกันทางกายและวาจา หรือขัดแย้งแบ่งเป็นฝักฝ่าย รวมถึงความดื้อรั้นไม่ยอมใคร ใช้อัตตา อารมณ์ในการแก้ไขปัญหามากกว่าเหตุผล อาจสะท้อนถึงภาพใหญ่ของการเลี้ยงดูในครอบครัว ที่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคมไทยว่า ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้

พบเห็นกันบ่อยว่า ครอบครัวไทยปัจจุบันยังเลี้ยงลูกแบบตามใจไม่มีขอบเขตหรืออาจเรียกว่า ตามแต่อารมณ์ โดยพ่อแม่ ผู้ใหญ่ไม่ได้ตระหนักรู้ถึงผลเสียที่ตามมาว่าเด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้าที่มี ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ อีคิว แย่อย่างไร

วิธีการเลี้ยงดูที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเด็ก หรือแล้วแต่อารมณ์ผู้ใหญ่ พบในพ่อแม่ที่กลัวอารมณ์ลูก ใจอ่อน ไม่อยากขัดใจเพราะสงสาร ทนเสียงลูกร้องนานไม่ได้ จึงยอมตามใจเพราะตัดรำคาญ หรือกลัวผู้ใหญ่อีกฝ่ายบ่นว่าที่ปล่อยให้ลูกหลานร้อง มักพบบ่อยในกรณีของลูกคนเล็ก ลูกคนแรก หรือเด็กคนเดียวที่อยู่ในครอบครัวใหญ่ เป็นลูกหัวแก้วหลานหัวแหวนของคนทั้งบ้าน ลุง ป้า ปู่ ย่า ตา ยาย คอยบริการ รู้ใจ ช่วยเหลือทำให้ มักได้รับการยกเว้นให้กับความเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ ตามใจตั้งแต่เล็กจนโต ส่งผลให้เด็กไม่ปรับตัว เรียนรู้วิธีใช้อารมณ์เพื่อควบคุมคนอื่นให้ได้สิ่งที่ต้องการ หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ ดื้อ อาละวาดตั้งแต่ 4-5 ขวบปี

ปัจจัยอื่นอีกมากที่แตกต่างในตัวเด็กเอง ได้แก่ พื้นอารมณ์ที่ต่างกัน ปัญหาความเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดตั้งแต่เล็ก เช่น น้องคลอดก่อนกำหนด ตัวเล็ก ป่วยบ่อย พี่เคยชัก เป็นโรคหอบหืด หรือเป็นเด็กพิเศษ ความเป็นพี่คนโต น้องเล็กสุดท้อง หรือเป็นเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ด้วยสาเหตุจากปัญหาครอบครัว

เด็กคนหนึ่งจึงได้รับการปฏิบัติ ยอมรับ ตอบสนองไม่เท่ากัน เรียนรู้และปรับตัวมีแบบอย่างต่างกัน เกิดข้อเปรียบเทียบทั้งด้านนิสัย ความซน ดื้อ เอาแต่ใจ ผลการเรียนดีหรือไม่ รวมถึงการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันทำได้มากหรือน้อย ก่อให้เกิดอารมณ์หรือได้รับคำชมจากคนรอบข้าง ตั้งแต่แปรงฟัน, อาบน้ำ, แต่งตัว, ทานข้าวให้ทันไปโรงเรียน, รู้จักช่วยแบ่งเบางานบ้านให้พ่อแม่หายเหนื่อย ไม่ต้องถูกดุ บ่นว่า

ทัศนคติและวิธีปฏิบัติของพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ที่ขาดความเข้าใจในการจัดการแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นอารมณ์ระหว่างเด็ก ก่อให้เกิดปมจำยอม โดยผู้ใหญ่บังคับให้ฝ่ายหนึ่งเสียสิทธิ ยอมให้อีกฝ่ายเอาเปรียบเสมอ ฝ่ายที่ได้เปรียบเกิดความเคยชิน เอาแต่ใจจนเสียนิสัย ไม่รู้จักแพ้ เป็นสาเหตุหนึ่งของปมอิจฉา เข้ากันไม่ได้ระหว่างพี่น้อง

can-stock-photo_csp5780437

ตัวอย่างที่พบบ่อย คือการเล่นกันระหว่างพี่น้องแล้วเกิดการทะเลาะกันบ้าง ตามประสาเด็ก แต่น้องมักเป็นฝ่ายโวยวาย แย่งของ โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ฝึกน้องให้รู้วิธีพูดขอพี่ดีๆ รอให้พี่อนุญาตก่อน เสียงร้องของน้องทำให้คนในบ้านรำคาญ หันมาดุกล่าวโทษพี่ว่าแกล้งให้น้องร้อง และขอร้องแกมบังคับให้ยอมอารมณ์น้อง พี่จึงหงอทำตัวเรียบร้อยเพราะกลัวถูกดุตี แต่เก็บกด เกลียดความเห็นแก่ตัวของน้อง หาทางเอาคืน เล่นแรง หรือแกล้งให้น้องเจ็บตัวบ้างเวลาผู้ใหญ่เผลอ เมื่อเข้าวัยรุ่น หากทะเลาะกันรุนแรง จะยับยั้งอารมณ์โกรธไม่อยู่ พร้อมลงไม้ลงมือ ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง ไม่มีใครยอมใครอีกต่อไป

การปกป้องและให้ท้าย เป็นสาเหตุที่ทำให้ปมขัดแย้งรุนแรงขึ้น เช่น พ่อเข้าข้างน้องสาว มักดุว่าพี่ชายมากกว่าเรื่องหวงของ แกล้งน้อง ส่วนแม่คอยช่วยเหลือพี่เพราะสงสารที่ถูกพ่อตีหนักกว่า รวมถึงหากมีผู้ใหญ่ในบ้านอารมณ์ไม่คงที่ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เอาความคิดเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ ตัดสินเข้าข้างด้วยอคติหรือฉันทาคติ คอยให้เหตุผลเพื่อปกป้องการกระทำผิด โดยคิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ใครๆ ก็ทำกัน เด็กจึงเห็นช่องหลบเลี่ยงความผิดได้เสมอ และเมื่อจับไม่ได้ไล่ไม่ทันบ่อย ก็ยิ่งได้ใจ ใช้เหตุผลที่ฉลาดแกมโกง มาเป็นข้ออ้างของการกระทำผิดของตัวเอง ไม่ใส่ใจในกฎเกณฑ์ กติกา แต่คอยดูว่าใครชื่นชมหรือให้ผลประโยชน์เขามากกว่า

บรรยากาศการเลี้ยงดูที่ผู้ใหญ่ขาดเหตุผล ไม่ใช้กฎเกณฑ์ กติกาที่เสมอภาคกัน ไม่มีวิธีปราบหรือลงโทษเด็กให้เหมาะสม มักใช้อารมณ์รุนแรงบังคับ ดุตีเด็กคนหนึ่ง แต่อาจมองข้ามปล่อยปละละเลยหรือปกป้องเด็กอีกคนให้พ้นผิด ทำให้เกิดความรุนแรงแฝงแบ่งขั้วเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ถูกตามใจมากเกินไป มักดื้อแบบเอาตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังใคร ส่วนฝ่ายที่ถูกกำกับเข้มงวด ดุตีบ่อย ก็จะดื้อแบบเก็บกด แต่ก้าวร้าวได้ทั้งคู่ก่อนวัยรุ่น

ความรู้สึกขัดแย้งที่คุกรุ่นภายในจิตใจ เมื่อเติบใหญ่กลายเป็นปมพึ่งพาหรือต่อต้านผู้มีอำนาจ (Dependency vs Authoriy Conflict) และเมื่อผิดหวังจะเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมรุนแรง อาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ท้าทาย กล่าวร้ายป้ายสีคนที่คิดเห็นแตกต่างจากตนเองว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เป็นมูลเหตุ กลายเป็นสงครามตัวแทนของอคติ ความโกรธเกลียด ในกลุ่มพวกพ้องของแต่ละฝักฝ่าย ขัดแย้งรุนแรงด้วยมุมมองที่แตกต่างทั้งทางลัทธิ ศาสนา คุณค่าของความดีที่ยึดถือ ความรู้สึกชาตินิยมและอุดมการณ์ทางการเมือง

สังคมไทยควรตระหนักถึงคุณค่าของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตั้งแต่ปฐมวัย เริ่มต้นที่ครอบครัว ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างของการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีต่อกัน ไม่เลี้ยงลูกหลานแบบตามใจหรือปกป้องมากไป มีเหตุผลที่ถูกต้องมากำกับ ปรับแก้ไขพฤติกรรมที่เด็กกระทำผิดร่วมกับส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ดีสม่ำเสมอ

มีกฎของบ้านเป็นพื้นฐานของการฝึกฝนวินัยในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เด็กเรียนรู้ความรับผิดชอบ รู้จักยับยั้งชั่งใจ แยกแยะถูกผิด เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผล ไม่พึ่งพาหรือโทษผู้อื่นมากเกินไป เข้าใจผลกระทบของการกระทำของตนต่อคนอื่น

มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สมวัย แก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลมากกว่าทิฐิ อัตตา หรืออารมณ์

เป็นภูมิคุ้มกันช่วยคลายปมขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความคิดเห็นต่างขั้วในครอบครัวและสังคม

บทความโดย นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

มติชนฉบับวันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

จิตแพทย์คือใคร ต่างจากนักจิตวิทยาอย่างไร

จิตแพทย์ทำอะไรบ้าง?

คำถามแรกจัดเป็นปัญหาโลกแตก และในชีวิตจริงก็โดนเรียกสลับกันบ่อยๆ
เรียกนักจิตวิทยาว่าหมอบ้าง เรียกหมอว่านักจิตวิทยาบ้าง  แม้กระทั่งสื่อต่างๆ ยังลงผิดกันเป็นประจำ

จิตแพทย์คืออะไร???

หมอที่หลายๆคนกลัว ไม่อยากไปเจอโดยเด็ดขาด ….. หากถามว่าจิตแพทย์คืออะไร

ตามพจนานุกรมบอกว่า จิตแพทย์ (Psychiatrist) คือ แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิต ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ

หากเอาตามนิยามแพทยสภา จิตแพทย์ คือ แพทย์ผู้ที่ผ่านการอบรม สอบได้วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร ทางด้านจิตเวช

ดังนั้นเส้นทางของการเป็นจิตแพทย์คือ เรียนแพทย์ทั่วไป (6 ปี) —> (+/- ไปทำงานเพิ่มพูนทักษะในต่างจังหวัดหรือที่เรียกสั้นๆว่า ใช้ทุน อีก1-3ปี) —> จากนั้นเรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวช (Psychiatry) ต่ออีก 3 ปีสำหรับจิตแพทย์ทั่วไป (หรือเรียกกันว่าจิตแพทย์ผู้ใหญ่) หรือ 4 ปีสำหรับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
สรุปคือกว่าจะจบเป็นจิตแพทย์ได้ต้องเรียนมา”อย่างน้อย” 9 ปีครับ ”

เวลาเจอจิตแพทย์หน้าตาเด็กๆ ให้นึกไว้นะครับว่า เค้าเรียนมาอย่างน้อยๆ ก็ปาไป 9 ปีแล้วครับ อายุอาจไม่เด็กเท่าหน้า
จะเห็นว่าจิตแพทย์เองก็ต้องจบแพทย์มาก่อน จึงมีความรู้ความสามารถในระดับแพทย์ทั่วไปด้วย จึงรักษาโรคทั่วๆ ไป อย่างเป็นหวัด เบาหวาน ความดัน ฯลฯ ได้ครับ (ผมเคยเจอคนไข้ถามว่า หมอรักษาความดันสูงได้ด้วยเหรอ ”)

1tshirt

ส่วนนักจิตวิทยา (Psychologist) นั้นไม่ได้เป็นแพทย์
แต่เป็นผู้ที่ศึกษาจบสาขาจิตวิทยา (Psychology) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ โดยใช้เวลาเรียน 4 ปีสำหรับระดับปริญญาตรี
ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนจำนวนมาก เช่น คณะจิตวิทยาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
ซึ่งนักจิตฯ เองก็มีหลายสาขาความถนัด เช่นกัน เช่น-นักจิตวิทยาคลินิก : เรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สาขาจิตวิทยาคลินิค ต่อด้วยหลักสูตรอบรมอีก 6 เดือน และสอบเพื่อให้ได้ใบประกอบโรคศิลปสาขาจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น

———————-

” ไม่ได้บ้า จะไปหาจิตแพทย์ทำไม “

หากพูดถึงคำว่า “บ้า” ที่ใช้กันทั่วๆไปนั้น .. เอาจริงๆ ผมก็ไม่แน่ใจว่าทางการแพทย์มันจะหมายถึงอะไรกันแน่? เข้าใจเอาเองว่าในความหมายของคนส่วนใหญ่ น่าจะหมายถึงผู้ป่วยจิตเภท (schizophrenia) คือมีหูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง มีท่าทางแปลกๆ (ในกรณีที่เป็นหนักๆ)
ถามว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเภทเท่านั้นหรือที่ควรพบจิตแพทย์ หรือในอีกนัยหนึ่ง คือ จิตแพทย์ตรวจได้แต่โรคจิตเภทเท่านั้น?! … คงบอกว่าไม่ใช่ และคงไม่ต้องรอให้เป็นอะไรมากๆ จนเรียกว่า “บ้า” แล้วค่อยไปพบจิตแพทย์

จิตแพทย์รักษาอะไร หรือทำอะไรได้บ้าง

หลักๆนั้นคงแบ่งได้เป็น

1. ให้คำปรึกษา แนะนำ
ในกรณีคือไม่ได้เจ็บป่วย ไม่ได้เป็นโรคอะไร ก็สามารถรับคำปรึกษาได้ ที่มีปรึกษากันบ่อย ๆ ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องลูก ปัญหาการเรียน ปัญหาชีวิตคู่ ปรึกษาก่อนแต่งงาน (premarital counseling) ปัญหาความขัดแย้งในใจ … โดยพบว่าถ้าเป็นจิตแพทย์ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ก็มักจะได้ตำแหน่งพ่วงเป็นที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาไปด้วย เป็นต้น

2. โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders)
ยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของ “สารสื่อประสาท” (neurotransmitter) ในสมอง

3. โรคทางระบบประสาท (Neurology) และประสาทจิตเวช (Neuropsychiatry)
กลุ่มนี้มักเป็นสิ่งที่หลายคนไม่ทราบว่าจิตแพทย์ยุคใหม่ก็สามารถตรวจรักษาได้ และว่ากันตามจริงแม้แต่แพทย์ด้วยกันเองบางทีก็ยังไม่รู้
โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคที่เกิดจากความผิดปกติ”โครงสร้าง”บางส่วนของสมอง แล้วมีผลทำให้เกิดปัญหาเรื่องอารมณ์ พฤติกรรมและอาการทางจิต ยกตัวอย่างเช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ภาวะบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic brain injury) เป็นต้น
อย่างทุกวันนี้ผมเอง(ซึ่งเป็นจิตแพทย์) ก็เป็นคนดูแลคลินิกความจำอยู่

4. เป็นส่วนหนึ่งในทีมรักษาร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ
ในปัจจุบันจิตแพทย์มักเป็นถูกรวมเข้าในทีมการรักษาต่างๆ เพื่อร่วมกันดูแลรักษาในแบบองค์รวม ยกตัวอย่าง เช่น หน่วยผู้ป่วยวาระสุดท้าย (end of life care) , หน่วยรักษาความเจ็บปวด (pain unit) , การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) หน่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) เป็นต้น ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์หลายสาขาร่วมกันดูแล และที่มักจะขาดไม่ได้คือจิตแพทย์ด้วย
ดังนั้นหากใครไปนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ แล้วพบว่ามีจิตแพทย์เดินป้วนเปี้ยนไปดู ท่านก็อย่าแปลกใจเลยนะครับ เพราะอย่างที่บอกเป็นการช่วยกันดูแลแบบเป็นทีม-หลายแผนก (ผมเคยเดินไปดูแล้วคนไข้ไม่ยอมคุยด้วยบอกว่าไม่ได้บ้ามาทำไม ” )

ดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าบทบาทของจิตแพทย์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำว่า ”บ้า”เท่านั้น แต่หากเป็นอย่างอื่น หรือไม่เป็นอะไรเลยแค่อยากปรึกษา ก็สามารถไปพบจิตแพทย์ได้

ผู้เขียนเองอยากให้ประเทศไทย เป็นเหมือนอย่างในอเมริกาหรือประเทศทางตะวันตก ที่การไปพบจิตแพทย์นั้นเป็นเรื่องปกติไม่ได้แปลกอะไร เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

และสุดท้ายอย่าลืมนะครับว่าจิตแพทย์ก็ไม่ได้รักษาได้แต่โรคจิตเภทเท่านั้น ยังสามารถรักษาโรคอื่น ๆ ได้อีกมาก (ถ้ารักษาได้แค่โรคเดียวจะเรียนกันทำไมตั้ง 3 ปี)

บทความโดย หมอคลองหลวง จาก Facebook สมาคมจิตแพทย์แห่งะประเทศไทย

บุคคลที่ทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้น

หมอเคยถามจิตแพทย์รุ่นพี่ที่เพิ่งมีลูกคนแรกว่า การมีลูกทำให้ทัศนคติเปลี่ยนไปไหม “พอได้มาเป็นแม่แล้ว ที่เคยหงุดหงิดแม่ ก็กลายเป็นเข้าใจ ไม่ถือสา อย่างงั้นรึเปล่า?”

“ก็ไม่นะ” พี่หยุดไปเล็กน้อย .. หมอแปลกใจนิดหน่อย เมื่อกี๊ถามชงไปเพราะคิดว่าใช่แน่

“แต่มันทำให้พี่อยากเป็นคนที่ดีขึ้นมากกว่า”

ใครๆก็อยากเป็นคนดี…
แต่ แรงจูงใจไหน จะมีพลังให้เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้มากเท่า “คนที่เรารัก”

10561537_550751778362176_1591347645276091832_n

= = = เพราะลูก คุณจึง = = =

..ค้นพบว่าตัวเองสามารถอดนอน และอดทนได้อย่างเหลือเชื่อ

..พยายามจัดการอารมณ์โกรธของตัวเอง ก่อนจะไปจัดการลูกที่อาละวาด ดิ้นพราดๆอยู่กับพื้น

..รักษาคำพูด สัญญาในสิ่งที่คุณให้ได้ เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักรอ

..หนักแน่น ไม่ใจอ่อนง่ายๆในเรื่องที่ไม่สมควรปล่อย เพราะเล็งเห็นประโยชน์ของการปฏิเสธนี้ในอนาคต มากกว่าความสบาย(ของตัวเอง)ในการตามใจลูกในวันนี้

..อดกลั้นต่อความอยากที่จะเข้าไปบอก เข้าไปจัดการแทน เพราะคุณอยากให้ลูกเรียนรู้ที่จะตัดสินใจ และรับผิดชอบ

..มีสติมากกว่าเดิม ก่อนจะพูด ก่อนจะทำอะไร เพราะนั่นอาจกลายเป็นความทรงจำที่ดี หรือสิ่งที่ฝังใจลูกก็ได้

..รู้จักความคาดหวังและความผิดหวัง เพราะไม่ว่าคุณจะเลี้ยงเขาด้วยความตั้งใจอันดีเพียงใด คุณก็ย่อมผิดพลาดบ้าง และ ลูกก็ไม่อาจ ทำหรือเป็น ได้ดั่งใจ คุณทุกประการ … ซึ่งเป็นเรื่องปกติ : )

วันเวลาที่ผ่านไป แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แต่ลูกเท่านั้นที่เติบโตขึ้น
แต่คุณเอง ก็ “เติบโต” ขึ้นด้วยเช่นกัน – เป็นคนที่มีวุฒิภาวะกว่าเดิม เป็นคนที่น่ารักขึ้น
ทั้งหมดเป็นเพราะลูกหยิบยื่น “โอกาส” นี้ให้
และคุณก็ได้ใช้มันอย่างดีที่สุด

การเป็นพ่อแม่คือการสร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ต่อโลกใบนี้จริงๆค่ะ

บทความโดย หมอมีฟ้า จาก facebook สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

รูปจาก http://yourdailydoseofchi.com/wp-content/uploads/2011/09/mom-and-baby-hands.jpg

สอนลูกให้มองบวก

ทุกครั้งเวลาที่ผมรู้สึกว่าเริ่ม “หมดมุก” ไม่รู้จะเขียนอะไร วิธีในการหาเรื่องเขียนวิธีหนึ่งคือ การพยายามนึกถึงว่าเด็กที่จะโตไปเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีได้นั้น ควรจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ว่าแล้วก็นึกได้ว่ามีเรื่องนึงที่ยังไม่เคยพูดถึงเลยคือ “การมองโลกในแง่ดี” หรือ positive thinking ครับ

อาจจะมีหลายท่านสงสัยว่า คือการสอนลูกให้เป็นคน “โลกสวย” น่ะหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ

เพราะการมองโลกในแง่ดีนั้นมีหลายแบบ แต่แบบที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้นคือ การมองหาสิ่งดีๆที่มีอยู่จริง จากเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เพื่อให้เรามีกำลังใจในการแก้ปัญหา และ เพื่อให้ชีวิตสามารถเดินหน้าต่อไปได้ครับ

ที่ต้องเน้นว่าเป็นสิ่งดีๆที่มีอยู่จริงก็เพราะว่า การที่เราพยายามคิดอะไรดีๆขึ้นมาโดยที่ไม่มีมูลความจริง

เช่น หากคุณบอกลูกว่า “ที่เพื่อนชอบมาตบหัวหนูทุกวัน เขาอาจจะแค่อยากเล่นกับหนูก็ได้นะลูก” หรือ

หากคุณบอกกับเพื่อนของคุณว่า “ที่แฟนเธอแอบไปมีกิ๊กอยู่บ่อยๆ นั่นเขาอาจจะแค่เผลอไปโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้นะ”

10384820_306113039570070_3037226762710022011_n

สำหรับผมแบบนี้ไม่ได้เรียกว่า “มองโลกในแง่ดี” แต่เรียกว่า “หลอกตัวเอง” ซึ่งการคิดแบบนี้มักจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นสักเท่าไหร่ครับ

โดยตัวอย่างของการมองมุมบวกแบบไม่หลอกตัวเอง ได้แก่

1.เรายังเหลืออะไรอยู่บ้าง

หรือที่เราเรียกว่าเทคนิค “น้ำครึ่งแก้ว” นั่นคือ การมองว่าเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นกับเรานั้นจริงๆแล้วมันไม่ได้พรากทุกอย่างไปจากเรา

เช่น หากคลื่นสึนามิพัดบ้านเราหายไป เราก็ยังมีอวัยวะเหลืออยู่ครบ 32

หรือหากขาขวาของเราขาดไปด้วย เราก็ยังเหลือขาซ้าย

หากขาซ้ายก็ขาดไปอีก เราก็ยังเหลือแขน 2 ข้าง

และถ้าแขนทั้ง 2 ข้างก็ขาด เราก็ยังเหลือหัวอยู่ครับ

หรือถ้าหัวของเราก็ขาดไปด้วย ก็แปลว่าเราคงไม่ต้องคิดอะไรมากแล้วครับ

2.โชคดีที่เรื่องที่แย่กว่านี้ไม่เกิดขึ้น

การคิดแบบนี้จะคล้ายกับข้อแรก แต่จะเป็นการมองว่า โชคดีแค่ไหนแล้วที่เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้เลวร้ายไปกว่านี้ เช่น

หากคุณจับได้ว่าแฟนนั้นแอบไปมีกิ๊ก ก่อนที่คุณจะแต่งงานกับเขา คุณก็สามารถบอกตัวเองได้เลยครับว่า
“โชคดี ที่รู้ก่อนแต่ง”

หรือ ถ้าหากคุณเพิ่งแต่งงานกับเขาได้ไม่ถึง 1 เดือน แล้วเขามีกิ๊ก คุณก็สามารถบอกตัวเองได้อีกครับว่า
“โชคดี ที่รู้ก่อนที่จะมีลูก”

หรือ ถ้าคุณมีลูกกับเขาไปแล้ว 1 คน แล้วเขามีกิ๊ก คุณก็ยังสามารถบอกตัวเองได้ครับว่า

“โชคดี ที่รู้ตอนมีลูกแค่คนเดียว” (ถ้าเลิกกันก็ยังพอที่จะเลี้ยงเองได้)

และแน่นอนครับว่า หากคุณจับได้ว่าเขามีกิ๊ก ตอนคุณมีลูกกับเขาไปแล้ว 3,152 คน ก็ย่อมดีกว่าที่คุณจะไปจับได้ตอนที่คุณมีลูกกับเขา 3,153 คนครับ

3.เรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นนี้ “สอน” อะไรเราบ้าง

เชื่อมั้ยครับว่าทุกครั้งที่เราต้อง “สูญเสีย” อะไรบางอย่างไป ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน โอกาสในชีวิต หรือ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เราก็มักจะได้ ความรู้ หรือ ประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้นมาด้วยเสมอ

เช่น การเผลอเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ จนไฟไหม้บ้านนั้นจะทำให้เรารู้ว่า “เราควรปิดวาว์ลแก๊สทุกครั้งหลังจากใช้เสร็จ”

การให้เพื่อนสนิทยืมเงิน แล้วเพื่อนไม่คืน จนเลิกคบกัน สอนให้เรารู้ว่า “เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร”

การกินเหล้าจนเมาแอ๋แล้วไปขับรถ จนรถชนพังยับไปทั้งคันนั้น ก็สอนให้เรารู้อีกว่า “เมาไม่ขับ”

โดยสิ่งที่คุณต้องเสียไปนั้น จริงๆแล้วมันคือ “ค่าเล่าเรียน” ที่คุณจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้ความรู้ หรือ ประสบการณ์ชีวิตอันล้ำค่านั้นมาครับ

และแน่นอนครับว่าค่าเล่าเรียนที่คุณต้องจ่ายนั้นมักจะมีราคาแพง นั่นเป็นเพราะว่าคุณได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก นั่นคือ “มหาลัยชีวิต” นั่นเองครับ

ดังนั้นเมื่อเสียค่าเล่าเรียนไปแล้ว ก็อย่าลืมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องร้ายๆซ้ำรอยเดิมอีกนะครับ

เพราะหากคุณยังคงคิดแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่ชีวิตคุณจะกลับมาเจอปัญหาแบบเดิมๆ และเมื่อนั้นคุณอาจจะต้องจ่าย “ค่าเล่าเรียน” ซ่อมเสริมอีกรอบนึงครับ

บทความโดย หมอตั้ม จาก facebook เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ

Cr:ภาพจาก http://pixgood.com/thinking-kid.html

ทุกข์ใหญ่ทุกข์เล็ก (ทุกข์จะใหญ่จะเล็ก ขึ้นกับใจเรา)

ทุกคนล้วนไม่อยากมี “ทุกข์”
แต่เพราะ โลก……ไม่ได้เกิดมาเพื่อเรา “โลกจึง….. ไม่ได้ดั่งใจเรา” ทุกประการ เราจึงทุกข์

ทุกข์จะเล็ก จะใหญ่ ขึ้นกับอะไร
ส่วนหนึ่งขึ้นกับปัจจัยภายนอก ระดับเหตุการณ์ความร้ายแรง เหตุการณ์ยิ่งร้ายแรงมาก โอกาสที่เราจะเกิดทุกข์ใหญ่ยิ่งมาก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด……

หลายคนคงเคยเห็นนะคะ ว่า มีผู้คนมากมาย ที่เขาประสบเหตุเภทภัยร้ายแรงในชีวิต แต่หลายครั้ง เรากลับพบว่าเขาเหล่านั้นยังยิ้มได้ แม้หัวใจยังมีความเจ็บปวดอยู่ มีความเศร้าอยู่ แต่ก็พร้อมจะสู้ พร้อมจะยืนหยัด ที่จะใช้ชีวิตต่อไป อย่างเข้มแข็ง อย่างสง่างาม

ขณะที่บางคน เจอเรื่องราวเล็กน้อยที่ทำให้ทุกข์ แต่ใจเขากลับทุกข์มาก ทุกข์กว่าคนที่เจอทุกข์ใหญ่เสียอีก

อะไรเล่า ที่ทำให้ทุกข์ใหญ่ หรือ ทุกข์เล็ก
ปัจจัยภายนอก…..อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด
ปัจจัยภายใน …….อาจมีผลอยู่ไม่น้อย
ดั่งคำโบราณบอกว่า “สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ”

10320443_523990997704921_8305787809943663051_n

เราลองมาดูกันนะคะ ว่า “สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ” คืออะไร
ก่อนอื่นเรามารู้จักว่า ใจทำงานอย่างไรบ้าง และ ทำลักษณะไหนทำให้ “ใจเป็นทุกข์ ” ทำลักษณะไหนทำให้ “ใจเป็นสุข”

1. ตีความ หรือ แปลความ

(หรือ ภาษาสมัยนี้ เรียกว่า มโน ค่ะ)

คนแต่ละคน จะตีความ แปลความ เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ไม่เหมือนกัน การตีความไปต่างแบบ ย่อมมีผลกับจิตใจต่างกัน

คนที่มักตีความ หรือ มโน เรื่องราวต่างๆ ไปทางด้านลบ ใจก็มีโอกาสเป็นทุกข์ได้มาก เช่น เพื่อนวันนี้ไม่ทักเรา ถ้าเราถนัดตีความด้านลบ อาจแปลว่า เพื่อนไม่ชอบหน้าเรา เกลียดเรา บางคนคิดเลยเถิดไปใหญ่โต ว่าเราเป็นคนไร้ค่า เป็นคนน่ารังเกียจ….เท่านั้นแหละ ความทุกข์ ก็มาเยี่ยมมาเยือนที่เรือนใจทันที

สิ่งที่ช่วยได้คือการกลับมา รู้ทันการตีความ / มโน (ทั้งด้านบวก ด้านลบ) นะคะ ก่อนที่จะถูก มโน “หลอก” เราค่ะ การมโนไปด้านบวกมากไป อาจจะทำให้สุขชั่วขณะ แต่สุดท้าย ก็อาจทำให้เจ็บ….เพราะผิดหวัง ได้เช่นกันนะคะ การรู้ทันมโน และ มองตามความเป็นจริงดีที่สุดค่ะ

2. คาดหวัง
ความคาดหวัง….ยิ่งสูง ยิ่ง……ทำให้ทุกข์มาก
เราคาดหวังกับอะไร เราก็จะทุกข์จากสิ่งนั้น
เราคาดหวังเพื่อนมาก เราก็ทุกข์จากเพื่อนมาก
เราคาดหวังพ่อแม่มาก เราก็ทุกข์จากพ่อแม่มาก
เราคาดหวังแฟนมาก เราก็ทุกข์จากแฟนมาก
เราคาดหวังตัวเองมาก เราก็ทุกข์จากตัวเองมาก

ความคาดหวังอยู่ที่ไหน ความทุกข์ก็รออยู่ที่นั่น ค่ะ ความคาดหวัง หลายครั้งก็ก่อให้เกิดสิ่งดีๆนะคะ เพียงแต่คนที่ต้องแบก “ความคาดหวังไว้มากๆ” จะไม่ไหวอ่ะค่ะ หนักเกินอ่ะค่ะ ให้ดีคือ ควรมีแต่พอดีๆนะคะ

สิ่งที่ช่วยได้คือ
ถ้าความคาดหวังนั้น ทำให้ยิ่งทุกข์ยิ่งหนัก เราต้องลองกลับมาทบทวนความคาดหวัง นั้นใหม่นะคะ ว่าคาดหวังมากไปหรือเปล่า? เกินจริงไปหรือเปล่า ? แล้วปรับให้พอดีๆ ตามความเป็นจริงมากขึ้นค่ะ

3. อัตตาตัวตน
ตัวตนยิ่งสูง ความทุกข์ยิ่งมาก
ยึดทุกอย่างเป็น ”ฉัน “ เป็น “ของฉัน” ไปหมด
เช่น ยึดตัวเอง คิดถึงแต่ตัวเอง
ยึดคน คนนี้ คนนั้นเป็นของฉัน
ยึดข้าวของ หวงข้าวหวงของ เป็นของฉัน….

ยิ่งถือกรรมสิทธิ์ “ยึดครอง” มากเท่าไหร่ “ความทุกข์ก็จะยิ่งทวีคูณ” ตามการยึดครองนะคะ

ในความเป็นจริงเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลกใบนี้ โลกใบนี้ไม่ได้หมุนรอบตัวเรา โลกใบนี้ หมุนของมันเอง ไม่มีเรา โลกใบนี้ก็ยังหมุนต่อไปได้

การยึดตัวตนมาก เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เป็นศูนย์กลางมาก เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดทุกข์ เปล่าๆค่ะ

สิ่งที่ช่วยได้คือ
ฝึกการปล่อยวาง “ ตัวเรา ของเรา” ลงบ้าง เราอาจพบสิ่งที่มีค่ากว่า คือ “ความสุข” ที่ทวีคูณขึ้นค่ะ

3 ข้อที่ผ่านมา ใจยิ่งทำงานแบบนั้นมาก ……ยิ่งทุกข์มาก
แต่ในข้อที่ 4 และ 5 ใจยิ่งทำงานแบบนี้มาก ….ความทุกข์กลับลดลงค่ะ
เราลองมาดูกันนะคะ ว่า ใจทำงานอย่างไร “ทุกข์ใหญ่” จึงกลายเป็น “ทุกข์เล็ก” ได้ค่ะ

4. ยอมรับ
ยอมรับ….ตามความเป็นจริง
การสามารถยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้ จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมากค่ะ และแม้หลายครั้งจะเจอทุกข์ใหญ่แค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ความทุกข์ก็ลดลงไปมากทีเดียวค่ะ

ยอมรับว่า โลกนี้…ไม่ได้ดั่งใจเรา จาก “ทุกข์ใหญ่” ก็กลายเป็น “ทุกข์เล็ก” ไปได้ค่ะ

ยิ่งเราสามารถยอมรับ สิ่งต่างๆ ความผิดหวัง ในชีวิตได้มากขึ้นเท่าไร ใจเราก็ยิ่งทุกข์น้อยลงเรื่อยๆเท่านั้นค่ะ

5 . เรียนรู้จาก “ชีวิต”
วิกฤติ คือ โอกาส นะคะ
ทุก ความทุกข์ ความเจ็บปวด ให้บทเรียนชีวิตที่มีค่าเสมอ ลองมองคุณค่า……ที่เราได้จากความทุกข์ ความทุกข์ให้อะไรมากกว่าที่เราเห็นในตอนแรก ลองมองมันใหม่ แล้วเราจะพบว่า ความทุกข์สอนอะไร เรามากกว่าความสุข ทำให้เราเติบโตขึ้น เข้มแข็งขึ้น ใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล และสวยงามมากขึ้น

จนหลายครั้ง เมื่อมองย้อนกลับไป ….. เราอาจต้องขอบคุณความทุกข์นั้น ที่ทำให้เรามีสิ่งดีๆในวันนี้ค่ะ

สุข ทุกข์ ส่วนหนึ่ง อยู่ที่ใจนะคะ เราแก้ผลกระทบภายนอกไม่ได้ แต่เราสามารถแก้ผลกระทบภายในใจเราได้ค่ะ

ดังนั้น ทุกข์จะใหญ่ จะเล็ก…….ขึ้นอยู่กับการรับมือของใจเราเองนะคะ

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  รพ.รามาธิบดี

ภาพจาก http://konkhangwat.blogspot.com/2013/09/blog-post_20.htmlต7

คำแนะนำสำหรับการสัมภาษณ์งานหรือสมัครเรียนต่อ

มีหลายคนขอคำแนะนำว่า เวลาไปสมัครงาน สมัครเรียนต่อ ต้องถูกสัมภาษณ์ จะเตรียมตัวอย่างไร
คำแนะนำนี้เคยให้น้องๆบางคนไปบ้างแล้ว ตอนจะมาสมัครแพทย์ประจำบ้าน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นทั่วไปเช่นกัน
ลองนำไปคิดดูนะครับ

10445109_550007325103288_1269937490548163395_n

[ 1. เตรียมตัวล่วงหน้า Get Ready ]
การมาสมัครของเราจะมีคุณค่ามากถ้าได้เตรียมตัว และแสดงให้กรรมการเห็นอย่างพอเหมาะว่าเราเตรียมตัวมาดี เช่น รู้ข้อมูลเชิงลึกของที่นั้น คงไม่ต้องนับขั้นบันได จำนวนต้นไม้นะครับ
ควรรู้อะไรที่แสดงกึ๋นของเรา จุดเด่นของสถาบัน เช่น อาจารย์ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่เป็น idol ที่ทำให้เราประทับใจ และอยากเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่น และสิ่งที่เราต้องการ ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น

[ 2. แสดงตัวตนจริง Do Not Fake ]
เปิดเผยตัวเอง บรรยายชีวิตตนเองได้อย่างกระชับ แสดงสรรพคุณที่ดีได้อย่างไม่น่าเกลียด ให้มีทั้งข้อดีและสิ่งที่อยากพัฒนา แต่เน้นที่จุดเด่น ที่แสดงประจักษ์ เช่น ได้รางวัล คำชม หรือเป็นที่ยอมรับ
ขอให้แสดงตัวตนจริง อย่าใส่ไข่ อย่าให้เวอร์จนเหมือนการอวดตัวเอง หรือถ่อมตัวเกินไปจนขาดความมั่นใจ อย่าให้รู้สึกว่าเราไม่ภูมิใจตนเอง ตรงนี้ต้องการให้กรรมการสัมภาษณ์เห็นว่าเราเป็นคนที่พิจารณาตนเองอย่างเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง
ควรมีเรื่องที่เล่าประกอบได้ว่าภาคภูมิใจตัวเองเรื่องใด และ เตรียมเรื่องที่ทำผิดพลาดไว้ด้วย เพราะตามปกติคนเราต้องมีผิดพลาดบ้าง แต่ได้เรียนรู้อะไร และจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร
ข้อด้อยของตัวเอง ควรเป็นเรื่องที่พัฒนาได้ และแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ว่าอยากพัฒนาตนเองในเรื่องนี้จริง
การนำเสนอตัวเองที่ไม่เป็นความจริง มักตามมาด้วยฝันร้ายเสมอ เช่น กรรมการมักจับได้ (กรรมการมีทักษะในการตรวจสอบเรื่องนี้มากครับ) ทำให้ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้วางใจ เสียความรู้สึกกันไปนานครับ
ถึงเข้ามาได้ก็ปิดบังได้ไม่นาน … เปิดเผยตัวตนจริงดีกว่าครับ ซื่อๆใสๆ จริงใจ ดูดีกว่าเยอะ

[ 3. บอกความต้องการ Show What You Want ]
อย่าอายที่จะบอกความต้องการตนเอง
แสดงเจตนาอย่างแรงกล้า ว่าต้องการอะไร เพราะอะไร เรียงลำดับความสำคัญ โดยโยงสิ่งที่ตนเองขาด เช่น ต้องการความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
บอกด้วยว่าสิ่งที่ต้องการนั้นจะได้มาอย่างไร สามารถทำได้จริง เช่น มีความรู้ความสามารถพื้นฐานเดิมเพียงพอ มีเวลา สิ่งที่ต้องการนั้นตรงกับจุดเด่นของสถาบันที่สมัคร
บอกเหตุผลหลักๆที่เลือก รวมถึงแรงบันดาลใจ ที่อาจมาจากประสบการณ์ที่ประทับใจในอดีต

– ข้อ 3 นี้แยกไม่ได้จากข้อ 4 –

[ 4. จะให้อะไร Show What to Give ]
แสดงความตั้งใจที่จะให้อะไร เพื่อประโยชน์ของสถาบัน เช่น ใช้จุดเด่นของตัว ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จะให้เวลา ความรู้ ความสามารถ ทุ่มเท มีส่วนร่วม หรือถึงกับเสียสละตนเอง เพื่อให้สถาบันประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ ขอให้แสดงอย่างจริงใจนะครับ ให้พอเหมาะ ตรงกับสมรรถนะหลักของเรา

– 3 และ 4 จะเป็น win-win situation ครับ –

[ 5. บอกแผนการชีวิต Share Your Roadmap ]
แสดงความเป็นตัวตน ที่มีคุณค่า เป้าหมายชีวิตเราจะทำอะไรต่อไป จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิต เพิ่มคุณค่าตนเอง สร้างสรรค์ ทำประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ ส่วนรวมและมนุษยชาติอย่างไร
ข้อนี้เตรียมไว้ให้ดี เผื่อจะมีการถาม ถ้าไม่ถามแต่มีเวลา ลองแสดงตัวตนตรงนี้ จะดูดีมากครับ
ถ้า roadmap ของเราตรงกับ vision ของสถาบันที่จะรับเรา จะโดนใจมากครับ

[ 6. เป็นธรรมชาติ Just Be Yourself ]
เตรียมทั้งหมดแล้ว อย่าฝืนตัวเองถ้าไม่ใช่เราเลย ไม่ต้องปิดบังตัวเอง แสดงสิ่งที่เป็นตัวเราจริงเท่านั้น ทุกคนมีดี หาตัวเองให้เจอครับ

[ 7. ยอมรับความจริง Everything happens for a Reason ]
ถ้าสัมภาษณ์ครั้งนี้แล้วไม่ได้ โลกไม่ได้ถล่มทลาย ชีวิตยังดำเนินต่อไป

เราอาจไม่เหมาะกันจริงๆ แต่ไม่ใช่ความผิดของใคร … just mismatch …

ขอให้ประสบความสำเร็จทุกคนครับ

“Job Interview that works” โดย ผศ.นพ.พนม เกตุมาน
อาจารย์จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รูปจาก http://englishwithatwist.com/wp-content/uploads/2013/08/Blog_get-a-job.jpg

4 ความ: ที่ลูกควรมีก่อนเป็นวัยรุ่น

ที่ผมนึกจะเขียนเรื่องนี้ เพราะได้ยินว่าช่วงนี้ละครโทรทัศน์เรื่อง “ฮอร์โมน 2” กำลังฉายอยู่

ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ผมไม่ค่อยได้ดู เพราะเวลาไม่อำนวย บวกกับ ไม่ค่อยชอบดูอะไรที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ชีวิตคน” สักเท่าไหร่ (เพราะฟังจากคนไข้มาเยอะแล้วครับ)

แต่เนื่องจากเป็นละครที่ยกตัวอย่างพฤติกรรมและปัญหาของวัยรุ่นได้ดี ในฐานะที่ดูแลคนไข้วัยรุ่นมาก็มาก จึงอยากที่จะขอเสนอ 4 คุณลักษณะที่จะเป็น “เกราะป้องกัน” ชั้นดีเพื่อช่วยไม่ให้เด็กๆที่กำลังจะโตไปเป็นวัยรุ่นนั้นต้องพบเจอกับสารพัดปัญหาชีวิตอย่างน้องๆในละคร ซึ่งคุณลักษณะที่ว่านี้ได้แก่

10527456_305212922993415_2866659129211788388_n

1.ความรับผิดชอบ

เพราะเป้าหมายในการเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่นที่สำคัญอันหนึ่งคือ “การเตรียมตัวเขาให้พร้อมที่จะไปเป็นผู้ใหญ่” ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่นั้นต่างจากเด็กก็คือการมี “ความรับผิดชอบ” นั่นเองครับ

โดยนิยามของความรับผิดชอบก็คือ การรู้ว่า หน้าที่ของตัวเอง ณ ตอนนี้ มีอะไรบ้าง และ สามารถทำมันได้อย่างไม่บกพร่อง ซึ่งมีหลายด้านครับ ไม่ว่าจะเป็นต่อ ตัวเอง ครอบครัว การเรียน การทำงาน สังคม ประเทศชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้น

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความรับผิดชอบใน “ผล” ของการกระทำของตัวเอง โดยไม่ต้องให้คนอื่นมาตามแก้ไขให้

ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณตัดสินใจที่จะซื้อรถยนต์ราคา 20 ล้านบาท ก็เป็นหน้าที่ของ “คุณ” ที่จะหาเงินจำนวนนั้นมาจ่าย อย่างนี้เรียกว่าคุณนั้นมีความรับผิดชอบแบบ “ผู้ใหญ่” ครับ

แต่หากคุณซื้อรถคันนั้นมา แล้ว ใช้วิธีไปขอร้อง(แกมบังคับ) ให้พ่อแม่ของคุณช่วยจ่ายให้(พร้อมค่าซ่อมบำรุง +ประกันชั้น 1 + พรบ. + เครื่องเสียง + ของแต่ง + ค่าน้ำมัน ) ก็แปลว่าคุณนั้นมีความรับผิดชอบเหมือนกัน แต่ยังเป็นแบบ “เด็กๆ”ครับ

ดังนั้นเทคนิคหนึ่งในการจัดการเมื่อลูกนั้น อยากที่จะได้นี่ได้นั่นซึ่งคุณเห็นแล้วว่าไม่สมควร เช่น อยากได้โทรศัพท์รุ่นใหม่ คอมพิวเตอร์สเปคเทพ หรือ กระเป๋าถือไฮโซ คุณก็สามารถที่จะบอกลูกได้ครับว่า “สิ่งที่ลูกอยากได้นั้น พ่อแม่เห็นว่าไม่สมควร แต่ถ้าลูกอยากได้จริงๆ ก็คงต้อง “จ่ายเอง”

2.ความภาคภูมิใจในตนเอง

เนื่องจากเด็กที่รู้ตัวว่าตัวเองนั้น เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และ เป็นที่รักของผู้อื่น เวลาที่จะตัดสินใจทำสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรนั้น เขาก็มักจะต้องคิดหนัก เพราะว่าเขาอาจจะต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้เป็นคนเก่ง คนดี หรือ อาจจะทำให้คนที่รักเขานั้นต้องเสียใจหรือผิดหวัง

ซึ่งก็จะต่างจากเด็กแบบที่ “ไม่มีอะไรจะเสีย” คือ เด็กที่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีอะไรดี ไม่ค่อยมีใครสนใจ ไม่มีใครชื่นชม จะทำดีหรือทำชั่วชีวิตก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก ทำให้เวลาที่จะต้องตัดสินใจทำสิ่งใดนั้น เขาจะไม่ค่อยมีอะไรที่จะต้องนำมาคิดพิจารณา จึงทำให้การกระทำความผิดนั้นง่ายขึ้นครับ

ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ “ไม่มีอะไรจะเสีย” ก็ควรเลี้ยงดูลูกให้มีความภาคภูมิใจในตนเองนะครับ ซึ่งวิธีการก็สามารถกลับไปอ่านในบทความเก่าๆของเพจได้ครับ

3.ความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่

เนื่องจากมีเด็กจำนวนหนึ่งที่เป็นเด็ก “ ดี๊ดี” แต่มีชีวิตที่ “โคตรเหงา” ไม่ว่าจะเกิดจากการไม่สามารถพูดคุยกับพ่อแม่ได้ หรือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ ฯลฯ

และเมื่อเขาโตขึ้นเป็นวัยรุ่น “ความเหงา” แบบเด็กๆก็จะกลายไปเป็น “ความโหยหาปรารถนาในรักแท้ เฝ้ารอแค่ใครสักคนมาเติมเต็ม”แบบหนุ่มสาว

ซึ่งก็แน่นอนว่า เมื่อคนที่จะมาเติมเต็มนั้นคือ ไอ้หนุ่มที่มีความรับผิดชอบแบบ “เด็กๆ” นอกจากความรักแล้ว ลูกก็อาจจะได้อย่างอื่นเป็นของแถมด้วยครับ

สำหรับวิธีที่จะสร้างสัมพันธ์กับลูกก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงคุณมี “เวลา” ให้เขา และ “พูดคุยกับเขาดีๆ”ให้เป็น ซึ่งวิธีพูดคุยกับลูกก็เคยเขียนไปแล้วเหมือนกันครับ

4.ความมีวินัย

เพราะ การที่ลูกนั้นเป็นคนรักษาสัญญา ปฏิบัติตามข้อตกลง กฏระเบียบของครอบครัวและสังคม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เขานั้นไปมีพฤติกรรมเสี่ยง และ แน่นอนว่าก็เป็นเรื่องที่ “ยากมว๊ากกก” หากจะมาเริ่มฝึกวินัยกันตอนลูกเข้าวัยรุ่น เพราะต้องไม่ลืมว่าวัยรุ่นคือ วัยที่รักอิสระ อยากลอง อยากทำอะไรด้วยตนเอง และ ไม่ชอบการถูกบังคับ

จึงเป็นที่มาว่าเพราะเหตุใด เราจึงควรฝึกวินัยลูกตั้งแต่อายุยังน้อย ( ประมาณ3 ขวบ) และ ยิ่งคุณพ่อคุณแม่ได้ส่งเสริมให้ลูกนั้นมี ข้อ 1+2+3 มาก่อนหน้าที่ลูกจะเป็นวัยรุ่น ก็จะช่วยให้เราสามารถที่จะพูดคุยและ “ต่อรอง” กับลูกในเรื่องของกฏเกณฑ์ต่างๆได้ง่ายขึ้นครับ

สำหรับวิธีฝึกลูกให้มีวินัย(ตั้งแต่เล็กๆ)นั้นก็ไม่ยากครับ เพียงคุณแค่กำหนดให้ชัดว่า หน้าที่ของเขาในแต่ละวันนั้นต้องทำอะไรบ้าง และ กฏระเบียบในบ้านของเรานั้นมีอะไรบ้าง โดยเมื่อเขาไม่ทำตาม ก็ขอให้กลับไปอ่าน วิธีปราบเด็กดื้อทั้ง 4 ตอนที่เคยเขียนไปแล้วครับ (สำหรับเด็กโต รอก่อนนะครับ กำลังเขียนอยู่ครับ)

ท้ายที่สุดนี้ หากเป็นไปได้ก็อยากจะฝากคนเขียนบท “ฮอร์โมน 3” ให้ลองเปลี่ยนแนวเป็นว่าน้องสไปร์ทถูกสัตว์ประหลาดจากต่างดาวจับตัวไป แล้วน้องไผ่กับเพื่อนๆก็ช่วยกันสร้างหุ่นยนต์ยักษ์ไปต่อสู้ รับรองว่าผมจะตามดูทุกตอนเลยครับ

บทความโดย: หมอตั้ม จาก facebook เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ

Cr : ภาพจาก http://ministry-to-children.com/3-ways-to-help-preteens-with-peer-pressure/

เวลาของฉันมาถึงแล้ว

เวลาของฉันมาถึงแล้ว

“My time has come.”

หลายคนอาจนึกไปถึงช่วงเวลาโอกาสทองของชีวิตที่มาถึง
ช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่เรากำลังจะรุ่งเรือง สมปรารถนากับอะไรสักอย่าง

แต่ “My time has come.”
“เวลาของฉันมาถึงแล้ว”
ประโยคนี้ที่กล่าวในภาพยนตร์อนิเมชั่น เรื่อง กังฟู แพนด้า ภาค 1

กลับมีนัยยะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น
เป็นประโยคที่อาจารย์เต่าอุกเว กล่าวลากับ ฉีฟู่ ศิษย์ของตน
ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต……
ก่อนที่จะลาจาก โลกนี้ไปตลอดกาล……

maxresdefault

ช่วงเวลาอื่นๆของชีวิต แม้จะยิ่งใหญ่
แต่ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตกลับสำคัญกว่า
เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายอย่างเปี่ยมล้น ทั้งกับตัวเราเองและ กับคนที่รักเรา

“เวลาของฉันมาถึงแล้ว”
ไม่แต่อาจารย์อุกเวเท่านั้นที่พบช่วงเวลานี้

เราทุกคนย่อมมีช่วงเวลานี้มาถึงสักวัน
ไม่มีใครปฏิเสธ หรือ หนีพ้นได้

เพียงแต่ไม่มีใครรู้ว่า เวลานั้นของเราจะมาถึงเมื่อไหร่…

ดังภาษิตธิเบตกล่าวว่า “ไม่รู้ว่า พรุ่งนี้หรือชาติหน้า อะไรจะมาก่อนกัน”

เราและทุกๆคนที่เรารู้จัก …..
ไม่มีใครรู้ว่า การเปิดประตูออกจากบ้านครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่
การพูดกับคนที่เรารักครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่
การกินข้าวมื้อนี้จะเป็นมื้อสุดท้ายหรือไม่
การหัวเราะครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่
ไม่มีใครตอบได้ ทั้งตัวเรา และ คนที่รักเรา

และเมื่อ เวลานั้น “เวลาของเรา” มาถึงแล้ว

เราอยากให้เวลานั้นของเราเป็นเช่นไร

หลายคนอาจคิดและรู้สึกไปต่างๆนานา

แต่สิ่งหนึ่่งที่พบร่วมกันในทุกชาติทุกภาษา
ในวินาทีนั้น ล้วนต้องการสิ่งเดียวกัน คือ
การจากไป พร้อมกับใจที่ผ่อนคลาย สบาย สงบ
ไม่รู้สึกเจ็บปวด ติดค้าง เสียดาย เสียใจกับอะไร

ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับอะไร ?

ความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับ “วันนี้”

เพราะ “วันนี้” เป็นวันเริ่มต้นของชีวิตที่เหลือ

การเตรียม”วันนี้”ให้ดีที่สุด
จะเป็นโอกาสที่จะทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดเช่นกัน

เพราะ “อนาคต” เป็น ผลลัพธ์ของ “ปัจจุบัน”

“วันนั้น” ก็เป็นผลลัพธ์จาก สิ่งที่เราทำใน “วันนี้”

การเตรียม “วันนี้” ให้ดีที่สุดทำอย่างไร ?

ดังข้อมูลเหล่านี้

Bronnie Ware พยาบาลชาวออสเตรเลีย ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
ได้รวบรวมข้อมูลความต้องการก่อนเสียชีวิตไว้อย่างมากมาย

เธอพบว่า 5 อันดับแรก ที่คนใกล้เสียชีวิตรู้สึกเสียดาย และ เสียใจ คือ

1. เสียดายที่ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่ตนเองต้องการ

หลายคนใช้ทั้งชีวิตทำตามความคาดหวังของคนอื่นตลอดเวลา
จนไม่เคยได้ใช้ชีวิตอย่างที่ตนเองต้องการจริงๆสักที จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

2. ทำงานหนักจนลืมครอบครัว ลืมคนที่เรารักและรักเรา

หลายคนให้เวลาในชีวิตไปกับเรื่องงาน เรื่องสังคม และ เรื่องคนอื่นๆ
(ที่สุดท้ายก็ไม่ได้มีความหมายมากมายในชีวิต) เป็นหลัก
จนละเลยคนที่เรารัก และ รักเรา

เมื่อถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต หลายคน รู้สึกเสียใจ

3. เสียใจที่ไม่ได้พูดในสิ่งที่รู้สึก โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก

หลายคนรู้สึกอัดอั้นตันใจ ติดค้างอยู่ในใจ และ ขมขื่นมาก
ที่ไม่มีโอกาสนั้นอีกแล้ว

4. เสียใจที่ไม่ได้ใช้เวลากับเพื่อนอย่างคุ้มค่า

หลายคนเมื่อถึงเวลาสุดท้าย มิตรภาพเก่าๆ
ได้หวนกลับมาในห้วงคำนึงอีกครั้ง

และรู้สึกเสียดายเมื่อตอนที่มีโอกาสได้ละเลยสิ่งนี้ไป

5. เสียใจที่ไม่ได้เลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

หลายคนใช้ชีวิตที่ผ่านมาอย่างอมทุกข์
เพราะความกลัวจึงไม่กล้าเปลี่ยนแปลง
หรือ ไม่เคยอนุญาตให้ตนมีความสุข เพราะ เข้มงวดกับตนเองมากเกินไป
หรือ เพราะความโกรธแค้นฝังใจ จึงหาความสุขทางใจไม่ได้เลย

เมื่อถึงช่วงเวลาสุดท้าย จึงรู้สึกเสียดายโอกาสในชีวิตที่ตนไม่ได้เคยใช้ชีวิตจริงๆสักที
(แต่กลับถูกชีวิตใช้มาโดยตลอด)

จาก 5 สิ่งที่กล่าวมา สิ่งที่มีคุณค่าและความหมายกลับไม่ใช่สิ่งภายนอกหรือสังคมอะไรเลย
กลับเป็น ตัวเอง และ คนที่เรารัก

เมื่อ”วันนี้” เรายังมีโอกาส
เราที่ยังมีชีวิตอยู่
เราที่ยังหายใจ
เราที่ยังทำอะไรต่ออะไรได้

ใช้โอกาสที่ยังมีนี้ให้คุ้มค่า ทั้งกับตัวเราเอง และ คนที่เรารัก

เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่เราต้องการคือ
ความสุข และ ความอิ่มใจในชีวิต

ซึ่งความสุข และความอิ่มใจในชีวิต เกิดจาก
– การได้ดูแลตัวเอง
– การได้ดูแลคนที่เรารัก
– ได้ทำสิ่งที่รู้สึกมีคุณค่า

ลองกลับมาทบทวนนะคะ ว่า “วันนี้ เรา ทำแล้วหรือยัง” นะคะ

เพราะ เมื่อ “เวลานั้นของเรามาถึง”
จะได้เป็นเวลาที่งดงามที่สุดสำหรับเราจริงๆค่ะ

เพราะเรารู้สึกอิ่มใจในชีวิตแล้วค่ะ

ก่อนที่…….
“My time has come”

บทความโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

เครดิตภาพ: http://www.youtube.com/watch?v=0c9sI2-TDS0

ยอมรับความเจ็บปวดแล้วจะเจ็บปวดน้อยลง

หนึ่งในอาการที่ทำให้คนไข้ทนไม่ไหว ถึงไม่ชอบโรงพยาบาลยังไงก็ต้องตัดสินใจไปหาหมอก็คืออาการปวด
สำหรับจิตแพทย์นั้น คนไข้ก็พกพาความทุกข์มาพบ หรืออาการ”ปวดใจ”

แม้ว่าจะมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ แต่ความรู้สึกปวดใจนี้ก็มีอยู่จริง….และทุกคนเคยรู้สึก

10352880_526721410765213_9062896670121343590_n

สาเหตุของอาการปวดใจของคนไข้ที่หมอเจอบ่อย ก็คือการผิดหวังในความรัก
(จริงๆน่าจะเรียกว่าผิดหวังใน”คนรัก”มากกว่านะคะ ว่ามั้ย)
หลายๆคนอาจจะแปลกใจว่า อกหักนี่ถึงกับต้องหาจิตแพทย์เลยเรอะ!?

ส่วน มากคนไข้มาเพราะอาการนอนไม่หลับ ทานไม่ลง อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ซึ่งเป็นอาการที่ถือว่าปกติในภาวะอกหัก โดยเฉพาะช่วงแรกๆ (เป็นเรื่องดีนะคะ ที่ไม่ไปซื้อยาทานเอง ส่วนคนที่มีอาการมากกว่านี้ เข้าข่ายโรคซึมเศร้า ก็มีบ้างเหมือนกันค่ะ)

ความทรมานกายในเรื่องนอนไม่หลับนั้นแก้ไม่ยากค่ะ
ออกกำลังกาย, กำหนดลมหายใจ และได้ยาที่เหมาะสมสักหน่อยก็หลับได้แล้ว

แต่สิ่งที่ทำให้คนไข้ทรมานใจสุดๆก็คือ “ความคิดถึง”
ภาพเก่าๆ ความทรงจำดีๆ ยิ่งมีมากแค่ไหนก็ยิ่งเจ็บใจตัวเองมากเท่านั้น
ทำไมๆๆๆเราต้องคิดถึงเขาด้วย? มียาอะไรทำให้ไม่คิดถึงเขาไหมคะ/ครับ?
อยากจะหายไวๆ.. ไม่อยากอยู่ในสภาพนี้..

การคิดถึงคนที่ทิ้งกันไปนั้นเจ็บปวดประมาณนึง
แต่สิ่งที่ทำให้คุณทรมานมากขึ้นไปอีกก็คือ “ความไม่อยากจะคิดถึง” ต่างหาก

ถ้าเลิกกันแล้วคุณไม่คิดถึงเขา … ที่ผ่านมาก็คงไม่ใช่”ความรัก”
ถ้ามียาที่ทำให้ไม่คิดถึงใครได้ … หมอก็คงกินเองก่อนแล้วล่ะค่ะ 555+

มันเป็นธรรมชาติของการอกหักค่ะ
ไม่ต่างกันกับตอนตกหลุมรักใหม่ๆ คุณก็คิดถึงเขาบ่อยๆโดยไม่ได้ตั้งใจและห้ามไม่ได้แบบนี้ใช่ไหม เพียงแค่คนละความรู้สึก

เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งความคิดถึง และความรู้สึกอื่นๆ ไม่ว่าเจ็บใจ แค้น ฯลฯ ก็จะค่อยๆจางลงไปอย่างช้าช้า
อย่า เฝ้าจับจ้องทุกวันว่าวันนี้ฉันคิดถึงเขาน้อยลงหรือยัง เพราะความรู้สึกมันลดลงทีละน้อยยย วันนี้กับพรุ่งนี้คุณจะไม่เห็นความแตกต่าง

แต่วันนี้กับสองอาทิตย์ที่แล้ว จะต่างกัน … วันนี้กับเดือนที่แล้ว ก็ต่างกัน
1-2อาทิตย์ค่อยทบทวนความคิดความรู้สึกตัวเองสักครั้งนึงก็พอแล้วค่ะ

แผลแต่ละประเภทใช้เวลาหายไม่เท่ากัน – ฟกช้ำ ผ่าตัด หมากัด รถล้ม
อกหักก็พอๆกับกระดูกหักล่ะค่ะ … เป็นเดือนๆ
แต่สุดท้าย … ก็หาย

ขอเพียงคุณ”ยอมรับธรรมชาติ”ของภาวะนั้นๆ ไม่ฝืน .. ไม่เร่ง … ไม่ต่อว่าตัวเองที่คิดถึง
เท่านี้คุณก็จะไม่ต้องเจ็บปวดเกินกว่าที่ควรแล้วค่ะ

บทความโดย หมอมีฟ้า จาก facebook สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

รูป จาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=642692719092452&set=a.603327403028984.1073741828.603313313030393&type=3&theater

 

‘ซึมเศร้า’ โรคฮิตแห่งยุคสมัย

‘ซึมเศร้า’ โรคฮิตแห่งยุคสมัย
           ใครจะเชื่อว่าโรคฮิตที่พบมากในปัจจุบัน จะเป็นโรคทางจิตเวชศาสตร์ที่ชื่อว่า ‘โรคซึมเศร้า’ เพราะ ในช่วงหลังๆ มานี้ เราจะเห็นได้ว่า มีข่าวการฆ่าตัวตาย โดยมีผลมาจากโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นมาก แท้จริงแล้วโรคชนิดนี้เป็นแบบไหน เกิดจากสาเหตุอะไร หากเป็นแล้วรักษาได้ไหม แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเรา หรือคนใกล้ตัวกำลังเป็นโรคนี้
แขกรับเชิญในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ‘ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล’ จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาเป็นผู้ให้คำตอบและความรู้เกี่ยวกับ ‘โรคซึมเศร้า’ โรคฮิตแห่งยุคสมัยนี้

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร
          เมื่อพูดถึงโรคซึมเศร้า คุณหมอมาโนช บอกว่า ในโลกของจิตเวชนั้น เจอมากที่สุดคือ ‘โรคซึมเศร้า’ รองลงมาจึงเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งจริงๆ โรคนี้เป็นที่รู้จักมากว่า 100 ปีแล้ว เพียวแต่จะรู้เฉพาะในวงการแพทย์ แต่ตอนหลังก็เริ่มรู้จักกันมากขึ้น จากเหตุของเรื่องการฆ่าตัวตาย
ที่มาของโรคนั้น ทั่วไปมักจะเข้าใจว่ามาจาก ‘ความกดดัน’ ซึ่งตรงนี้คุณหมอเองก็บอกว่า ‘ใช่’ หากแต่ยังเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
“ความกดดันทั้งจากครอบครัว การงาน การเรียน เรื่องพวกนี้ทำให้เราเสียใจและเศร้าใจได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคนี้เป็นคนที่มีความเสี่ยงระดับหนึ่งอยู่แล้ว และเมื่อมาเจอเรื่องพวกนี้เข้า จึงทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้า”
โดยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้นั้น ก็มีทั้งเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของยีนที่ผิดปกติ เรื่องของฮอร์โมน ที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการเลี้ยงดู หากมีการพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก ก็จะมีแนวโน้มความเสี่ยงสูงเช่นกัน
หลักๆ เลยโรคซึมเศร้า คือสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า ซีโรโทนิน ต่ำกว่าปกติ ทำ ให้การสื่อสารเซลล์ประสาททำงานได้ไม่ดีในบางส่วนของสมอง ซึ่งจริงๆ มีสารอีกหลายตัว แต่ตัวนี้คือตัวหลัก จึงทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นมา
“เมื่อก่อนเราก็คิดว่าโรคนี้เกิดจากจิตใจ เพราะเครียด ซึ่งก็ใช่ แต่ก็มีอีกส่วนคือด้านชีวภาพ เมื่อเราเจอประสบเรื่องสูญเสีย ก็จะเป็นการกระตุ้นและกระทบกระเทือนต่อยีนที่สร้างสารเคมี พูดง่ายๆ เหมือนกับเป็นรอยแผลเป็น เมื่อเราโตขึ้นพอมีเรื่องอะไรไปกระตุ้น ตัวนี้มันก็ปล่อยสารที่ทำให้เกิดซึมเศร้าขึ้นมา โดยทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ เหมือนเบาหวาน เหมือนความดัน ที่นี้ ประเด็นคือ มันไม่มีตัวตรวจ lkiouh”

อาการของโรค
“หลักๆ ที่เห็นได้ชัดเลยคือ 1. อาการซึมเศร้า 2. เบื่อหน่าย สองข้อจะนี้มีเท่ากัน หรือมีข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ คนทั่วไปมักคิดว่า
คนเป็นโรคซึมเศร้าต้องเศร้าร้องไห้เสียใจ แต่จริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้นนะ มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ร้องไห้ ซึมเศร้า แต่เป็นแบบเซ็ง เบื่อ ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่มีชีวิตชีวา เพื่อนชวนไปไหนก็ไม่อยากไป อยู่ๆ ก็เบื่อไปหมด ไม่มีความเพลิดเพลินใจ”
สองข้อนี้คุณหมอบอกว่าเป็นอาการหลัก แต่ยังมีอาการทางด้านจิตใจคือ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า เป็นภาระของคนอื่น ท้อแท้ หมดหวัง คิดอยากตาย สำหรับทางด้านร่างกายจะเป็นนอนไม่หลับ น้ำหนักลด เพลียๆ ไม่มีแรง บางคนก็จะหงุดหงิดง่าย

อาการของโรคในแต่ละวัยไม่เหมือนกัน
          สำหรับช่วงวัยของการเกิดโรคชนิดนี้นั้น คุณหมอบอกว่า สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่วัยที่พบมากมักจะเป็น ช่วงวัยทำงานหรือวัยกลางคน แต่ในอาการนั้นมีข้อแตกต่างกันบ้าง
ในเด็กเล็ก เด็กประถมนั้นก็มีเรื่องของโรคซึมเศร้าได้ แต่จะมีอาการในลักษณะ โยเย ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่แจ่มใส ไม่เล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย การเรียนแย่ลง ผอมลง
สำหรับวัยรุ่น อาการจะแสดงออกมาทั้งแบบตรงไปตรงมาคือ ออกมาในอาการของโรคซึมเศร้า และแบบที่ไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งพ่อแม่มักไม่เข้าใจ เช่น ก้าวร้าว เกเร จากความที่เขารู้สึกว่า ตนเองไม่เป็นที่รักของใคร ไม่ มีใครต้องการ ไม่มีคุณค่า จึงทำให้แสดงออกมาในลักษณะการทำตัวให้ไม่มีคุณค่า ประชดชีวิต ใช้ชีวิตแบบมีความสุขของฉัน อยู่ไปวันๆ แบบไม่แคร์ใคร
“มีหลายรายที่พาลูกมาตรวจ เพราะบอกว่าเด็กที่บ้านมีปัญหา เด็กก้าวร้าวเกเร แต่จริงๆ แล้วคือเด็กเป็นซึมเศร้า รู้สึกพ่อแม่ไม่สนใจ มีแต่เรื่องทะเลาะกัน พอเข้ามหาวิทยาลัย วัยทำงาน ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างกดดันอีกแบบ ซึ่งก็แล้วแต่อาการของเขาเลยว่าจะมายังไง ในผู้สูงอายุมักจะเป็นเรื่องของความเหงา เพื่อนที่เริ่มล้มหายตายจาก ลูกเริ่มออกไปมีครอบครัวเป็นของตัวเอง”
คุณหมอยังได้เสริมอีกด้วยว่า ผู้สูงอายุมักจะมีอาการทางด้านร่างกายมากกว่าในวัยอื่น เช่น อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหัว นอนไม่หลับ หรือนอนแล้วหลับไม่สนิท
“ผู้ใหญ่บางคนน้ำหนักลดเป็น 10 กิโล แล้วนึกว่าเป็นมะเร็งไปตรวจ หมดค่าตรวจเกือบแสน สรุปว่าไม่ได้เป็น จนส่งมาพบจิตแพทย์ ปรากฏว่า เป็นโรคซึมเศร้า”

ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล
โรคซึมเศร้ากับการฆ่าตัวตาย
          “พอซึมเศร้าแล้วจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า คนเราจะมีชีวิตไปทำไม แต่ที่เจอบ่อยคือ ซึมเศร้าร่วมกับพวกที่มีโรคเรื้อรังทางด้านกาย เช่น มะเร็ง เนื้องอก อัมพาต ซึ่งทำให้เกิดแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายได้ เพราะเขารู้สึกว่าภาระกับผู้อื่น อย่างอาชีพผู้พิพากษา ตำรวจ ทหาร คือ เราว่าเขาเป็นคนที่เข้มแข็ง ทำไมเขาฆ่าตัวตายได้ เพราะเมื่อเขาซึมเศร้า ก็เป็นภาวะความอ่อนแอในจิตใจ เก็บตัว ซึมลง พูดน้อยลง ไม่แจ่มใส ไม่ใช่เขาคนเดิม ตรงนี้ญาติๆ ก็ไม่รู้ ซึ่งถ้ารักษาก็จะไม่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น”

สังเกตตัวเองอย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้า
           “สำคัญที่สุดคือ อาการจะต้องเป็นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ขึ้นไป และเป็นแทบทุกวัน อันนี้ต่างจากเสียใจหรือผิดหวัง ทั้งอกหัก สอบตก ที่เป็นแค่ระยะสั้น อย่างเช่นเสียใจจากแฟนทิ้ง สองวันแฟนกลับมาบอกว่า เปลี่ยนใจแล้ว อาการก็หาย แต่ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า เขาก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ต่อให้แฟนกลับมาคืนดีก็ไม่หาย ไม่ดีขึ้น ยกตัวอย่าง คุณป้าท่านหนึ่ง เขาบอกว่าทุกทีที่ลูกพาหลานมาเยี่ยมจะมีความสุขมาก แต่พอเขาเป็นซึมเศร้า หลานมาก็รำคาญ ไม่อยากยุ่งกับใคร”
ดังนั้นสิ่งที่ต้องสังเกตคือ นิสัยเราเปลี่ยนไปจากเดิมไหม โดยอาจมีคนทักว่า ‘ทำไมเงียบลง ผอมลง ทำไมหมู่นี้ไม่พูดไม่จา ดูซึมๆ ไป’ สิ่ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เราก็ต้องกลับมามองตัวเองว่า เปลี่ยนไปจริงรึไม่ ช่วงที่เริ่มเป็นแรกๆ อาจจะสังเกตไม่เห็น แต่เรื่อยๆ อาการจะเห็นชัดขึ้น อารมณ์ต่างๆ จะเหมือนกราฟที่ค่อยๆ ตกลงมา

 

 

ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน
           เมื่อไม่สบายย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิต หากแต่โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ คุณหมอได้อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า
“หากเป็นคนที่ทำงานออฟฟิศ ใหม่ๆ ตอนที่มีอาการเริ่มต้น อาจเป็นการเบื่อ ไม่อยากไปทำงาน ไม่ใช่แค่วันจันทร์นะ (หัวเราะ) แต่เป็นทุกวัน พอไปทำงานก็ไม่มีกระจิตกระใจทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่ยังพอฝืนใจไปทำงานได้ ถ้ามากขึ้น ตื่นมาก็เริ่มไม่รู้จะไปทำไม เริ่มเข้างานสาย พอเจ้านายเรียกเตือน ก็เริ่มรู้สึกไม่ดี รู้สึกแย่ต่อตนเอง ก็จะเริ่มหายไปเป็นวัน ขาดงาน ถ้าเป็นแม่บ้านเสื้อผ้าก็กองเต็ม อาหารก็ไม่ทำ เป็นต้น”

เพราะพลังหายไป
จริงๆ คอนเซ็ปต์ของโรคนี้คือ ‘พลังมันหายไป’ แล้วพลังที่มีเอาไว้ทำอะไรบ้าง ก็มีเรื่องของความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน การทำงาน การเล่น ความรัก เราใช้พลังทั้งหมด และเมื่อพลังหายไป ก็อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร”

การตรวจรักษา
          คุณหมอแนะนำว่า สำหรับคนใกล้ชิดนั้นต้องสังเกตว่า เขาเปลี่ยนไปไหม แล้วที่บอกว่าเปลี่ยนนี้ดูว่าเขาแย่ลง เก็บตัวเงียบ ช่วงนี้มีอะไรเกิดขึ้นรึเปล่า หรือเขามีอะไรอยากจะคุยหรือไม่ แล้วก็จึงค่อยๆ ประคับประคองให้ดีขึ้น หากสักพักแล้วอาการตกลงไปอีก หรือให้คำแนะนำแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งไม่ดีในที่นี้สามารถดูได้จาก 3 ด้านคือ 1. การงานแย่ลงหรือไม่ 2. สถานภาพแย่ลง เก็บตัวไม่พูดไม่คุยหรือไม่ 3. กิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือนอกเหนือจากเรื่องงาน อาทิ เรื่องของงานอดิเรกที่เคยทำหายไปหรือไม่ หากดูทั้ง 3 ด้าน และพูดคุยแล้ว ไม่ดีขึ้น ก็ควรจะพบแพทย์
ส่วนการตรวจรักษานั้น คุณหมอมาโนช ได้กล่าวถึงแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีทั้งหมด 9 ข้อ
(ทาง www.ramamental.com/phq9/) ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ถ้าทำแล้ว ‘เป็น’ ก็ต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินอีกที เพราะว่านอกเหนือจากสภาพความกดดันแล้ว ยังมีเรื่องของยาบางตัวที่สามารถทำให้เกิดอาการนี้ จากการที่ทำให้สารเคมีในสมองบางตัวบกพร่อง หรือโรคทางด้านร่างกายบางอย่าง อาทิ ไทรอยด์ต่ำ เนื้องอก พาร์กินสัน ก็ทำให้มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้าได้
“มีสำรวจที่คลินิกเบาหวาน พบว่าคนไข้ 20 – 30% เป็นโรคซึมเศร้าแบบอ่อนๆ น้อยๆ ถึงปานกลาง ชีวิตไม่มีความสุข ไม่แจ่มใส ตอนหลังถึงมีรณรงค์ให้ใช้แบบทดสอบนี้กับคนไข้เรื้อรัง พอได้ผลสูงก็มาแจ้งให้หมอ เพื่อรักษาควบคู่กันไปด้วย ที่นี้พอรักษาโรคซึมเศร้าแล้ว คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นด้วย เหมือนส่งผลต่อโรคทางกาย”
“วิธีรักษาก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ เป็นมะเร็งก็ต้องรักษามะเร็ง ไทรอยด์ต่ำก็ต้องรักษาไทรอยด์ ถ้าอาการมาจากความผิดปกติของร่างกาย ถามว่ายาแก้ซึมเศร้ามันช่วยได้ไหม ก็ได้ แต่นั่นเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ”
การรักษานั้น หากมีอาการไม่มาก ก็สามารถจะดีขึ้นเองได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งนั้นหมายถึงว่า มีคนปรึกษา มีคนช่วยเหลือ คลายความกดดันที่เป็นสาเหตุ แนะนำเขาในทางที่ดีๆ ก็สามารถช่วยได้

ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ช่วยแก้ปัญหาขั้นต้นด้วยการฟัง
          “หลักการสำคัญคือ ‘ฟังให้เยอะ’ เพราะส่วนใหญ่พอเขาจะเริ่มพูด ยังไม่ทันฟังเลย บางทีก็ให้กำลังใจไปว่า สู้ๆ แต่จริงๆ เราต้องฟังเขาก่อน เป็นยังไงเหรอ เกิดอะไร ให้เขาได้ระบายสิ่งที่อัดอั้น คนเราถ้าได้พูดอะไรออกมาก็ความเครียดก็จะลดลง เราก็จะเข้าใจเขามากขึ้น พอเข้าใจก็จะสามารถให้คำแนะนำได้ ส่วนใหญ่ของคนที่พูดว่า ไม่รู้จะให้คำแนะนำอย่างไรคือ คนที่ไม่ฟัง”
“มันยากตรงที่พอเป็นเรื่องจิตใจแล้วเรามองไม่เห็น เจ้านายก็มองว่าขี้เกียจ ไม่รับผิดชอบ ญาติก็มองว่าไม่สู้ เป็นคนอ่อน แต่จริงๆ ไม่ใช่ เขาไม่ได้อยากเป็นอย่างนั้น แต่ใจมันไม่ไป ทีนี้ถ้าเราเข้าใจเขา ค่อยให้กำลังใจ ด้านบวกก็จะดีกว่าการใช้วิธีท้าทาย กระตุ้น วิธีอะไรแบบนั้นจะไม่ค่อยดี”
มีสิทธิ์หายขาดไหม
โรคซึมเศร้านั้นคุณหมอได้จำแนกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบเป็นครั้งเดียวหาย กับอีกแบบคือ เป็นแล้วเป็นอีก
          “หลายๆ รายรักษาเสร็จก็หาย แต่บางคนพอหายแล้วอีก 1 – 2 ปี ก็กลับมาเป็นใหม่ คนที่เป็นแบบนี้โดยมากเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ แต่ถ้าเป็นจากเรื่องหุ้นตก เรื่องทอง เรื่องอะไรแบบนี้ อันนี้ก็เป็นซึมเศร้าแต่ทางจิตใจ ก็ไม่ค่อยเท่าไร พอหายแล้วก็หายขาด”

วิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยง
        “วิธีป้องกันมันพูดได้ แต่คนที่มีความเสี่ยงมันทำไม่ได้ แต่คนที่มีแนวโน้มเนี่ย เรื่องเข้ามาห้า อาจจะตีความเป็นสิบ เพราะงั้นทางป้องกันที่ดีคือ มีเพื่อน มีคนปรึกษา มีคนพูดคุยกัน ลดความเครียดในตัวเรา สำคัญที่สุดอยู่ที่มุมมองของปัญหา ถ้ามุมมองเราดี ความกดดันต่างๆ ก็ลดลง ปรับความคิด ปรับอารมณ์ ผ่อนคลาย อย่าจมกับเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกหดหู่”

เล่นกีฬาลดการซึมเศร้า
          การเล่นกีฬา ทำให้สารความสุขหรือเอ็นโดรฟินหลั่ง และยังทำให้เซลล์สมองเจริญดีอีกด้วย โดยคนที่เป็นโรคซึมเศร้า หากได้ออกกำลังกายคุณหมอบอกว่า จะสามารถทำให้หายเร็วขึ้น เพราะเซลล์สมองนั้นเหมือนกับเลือด ที่มีการสร้างแล้วก็ตายไป ซึ่งมีการพบว่า คนเป็นโรคซึมเศร้า เซลล์จะสร้างน้อย ตายเร็ว ดังนั้นถ้าได้ออกกำลังกายมันจะไปเปลี่ยนตรงนี้ด้วย
“แต่ว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าใหม่ๆ เขาจะไม่มีพลังในการทำอะไร ดังนั้น ช่วงแรกๆ จะไม่ทำก็ไม่เป็นไร ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งคือ ญาติพี่น้องจะบอกว่า สู้สิ พวกนี้หากให้ทำโดยที่เขาไม่พร้อมจะยิ่งทำให้เขารู้สึกแย่ ควรจะค่อยๆ ประคับประคอง พอดีขึ้น ค่อยเติมกิจกรรมเข้าไป”

โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวล
          “ทั้ง 2 โรค สามารถเจอร่วมกันได้ แต่โรควิตกกังวลเค้าจะกังวลไปข้างหน้าข้างหน้า จะมองเห็นความล้มเหลวข้างหน้า วิตกกังวล กระวนกระวาย กระสับกระส่ายอะไรแบบนี้ ไม่เหมือนกัน หากเป็นเล็กน้อยก็จะแยกจากซึมเศร้าได้ยาก แต่ถ้าเป็นเยอะแล้วจะสังเกตได้อย่างชัดเจน”

ก่อนจะจากกันไป คุณหมอได้ทิ้งท้ายเกี่ยวกับโรคสุดฮิตในสังคมไว้ว่า โรคซึมเศร้าสามารถเกิดกับใครก็ได้ วัย ไหนก็ได้ หากแต่เมื่อไรที่เรารู้สึกว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม ในแบบพลังลดลง ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ และมีอาการมากกว่า 2 อาทิตย์ ก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้า ลองปรึกษาคนข้างๆ ดูว่าเรามีเรื่องไม่สบายใจอะไรไหม อย่างเก็บความทุกข์ไว้กับตัว ไม่ต้องเกรงใจ และเมื่อมีคนเข้าใจ ทุกอย่างก็จะค่อยๆ ดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์

HUG Magazine ปีที่ 5 ฉบับที่ 6
สิริลักษณ์ ลีวิวัฒนาวงศ์

สื่อภาพยนตร์ก่อให้เกิดความรุนแรงได้อย่างไร

1. พฤติกรรมเลียนแบบ (Modeling/Imitation)

เป็นที่ทราบกันว่าการเลียนแบบเป็นพฤติกรรมปกติของมนุษย์ การกระทำของเด็กส่วนใหญ่จึงมักจะเกิดจากการเลียนแบบและทำตามสิ่งที่พบเห็นแทบทั้งสิ้น จึงไม่แปลกหากเด็กดูการ์ตูนที่มีการชกต่อยกันแล้วเด็กจะทำตามด้วยการไปชกเพื่อน เป็นต้น

2. สร้างความหมายใหม่ของความรุนแรง (Observational learning)

Observational learning เป็นทฤษฏีที่อธิบายในเรื่องของผลระยะยาวจากความรุนแรงในสื่อ ซึ่งโดยพัฒนาการตามปกตินั้น เด็กจะสร้างมุมมอง ความคิดรวบยอดของตัวเอง จากข้อมูลที่ผ่านเข้ามาและสิ่งที่ได้พบเห็น เมื่อเด็กและวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับสื่อมาก ซึ่งในบางคนอาจใช้เวลากับโทรทัศน์ เกม และอินเตอร์เน็ทมากกว่าเวลาที่ใช้กับผู้ปกครองหรือโรงเรียนด้วยซ้ำ สื่อจึงเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่เด็กจะเรียนรู้โลก รู้จักสังคม รวมถึงเรียนรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร แทนการเรียนรู้จากพ่อแม่และครู เกิดเป็นการรับรู้ความรุนแรงในความหมายใหม่ ตัวอย่างของการสร้างความหมายใหม่ที่พบได้บ่อย ได้แก่
– การใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ (acceptance of violence) และเป็นวิธีแก้ปัญหาหรือเป็นทางออกที่เหมาะสม เมื่อลองมองถึงภาพยนตร์กลุ่มฮีโร่ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Batman, Hulk, Spiderman, James Bond และอื่น ๆ จะเห็นว่าตัวเอกจะเป็นฮีโร่ และได้รับการยกย่องจากการปราบเหล่าร้ายแม้ว่าจะใช้ความรุนแรง ทำร้ายคนอื่น ทำลายข้าวของ เป็นต้น
– หากเหยื่อเป็นคนเลว การลงโทษด้วยความรุนแรงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และการแก้แค้นเป็นสิ่งที่น่าเชิดชู (Justified mean) ภาพยนตร์หลายเรื่องสร้างขึ้นโดยคล้ายกับจะยึดแนวคิดนี้เป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริง เราต่างก็ทราบกันว่า ไม่ควรใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และทำการละเมิดกฎหมายซะเอง เราไม่จำเป็นต้องถือมีด หรือควงปืนเดินไปมาเพื่อลงโทษคนเลวเหมือนในภาพยนตร์
– การกระทำรุนแรงต่อเพศหญิงเป็นเรื่องที่ทำได้ ตัวอย่างที่ดีในประเด็นนี้ คือการที่ละครหลายเรื่องมีฉากพระเอกข่มขืนนางเอก และกลายเป็นคู่รักกันในภายหลัง โดยที่นางเอกก็ไม่ได้คิดแม้แต่จะแจ้งความด้วยซ้ำ กลายเป็นว่าผู้ชายข่มขืนผู้หญิงแล้วได้ดีแทนที่จะถูกลงโทษ

3. ความชาชินที่มากขึ้น (Desensitization/Tolerance)

Desensitization ในที่นี้หมายถึง การที่เรามีความตึงเครียด (หรือความรู้สึกไม่ดี) ลดลงจากการดูสื่อที่มีความรุนแรง หรือหากเรียกง่าย ๆ ก็คือ ”ชิน” มากขึ้น ส่งผลให้เมื่อเราดูสื่อที่มีความรุนแรงนาน ๆ เราจะมีการตอบสนองต่อความรุนแรงลดลงเมื่อเทียบกับตอนแรก และเมื่อเรามีความ “ชิน” เกิดขึ้น ก็จะมีผลทำให้เรา “เฉย ๆ “ ต่อการพบเห็นหรือกระทำความรุนแรง นอกจากนี้ความเคยชินยังมีผลทำให้เรามี “ความเห็นอกเห็นใจ” ต่อเหยื่อน้อยลง เช่น คนที่มีละครที่มีฉากตบกันทั้งเรื่อง อาจจะรู้สึกเฉย ๆ เมื่อเห็นคนถูกตบหรือไปตบคนอื่น

4. การเพิ่มความรู้สึกตื่นตัวและความยับยั้งชั่งใจลดลง (Arousal/Disinhibition)

สื่อที่มีความรุนแรงมักจะกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัวหรือเร้าใจสำหรับเด็กและวัยรุ่นเกือบทุกคน โดยทางสรีระแล้วอาจแสดงออกให้เห็นได้จาก อัตราการเต้นหัวใจที่เพิ่มขึ้น การหายใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นต้น ในภาวะที่มีการตื่นตัวสูง จะมีผลให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงหรือกำลังมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันหลายการศึกษาก็พบว่าสื่อที่มีความรุนแรงยังมีผลให้สมองส่วนหน้า ( Prefrontal cortex) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความยับยั้งชั่งใจทำงานลดลง ซึ่งส่งผลให้มนุษย์สามารถทำความรุนแรงได้ง่ายขึ้นกว่าในภาวะปกติ

5. การกระตุ้นรูปแบบความคิดเกี่ยวกับความรุนแรง (Priming and automatization of aggressive schematic processing)

ในปัจจุบัน neuroscientist และ cognitive psychologist พบว่าการทำงานของจิตใจมนุษย์จะมีลักษณะเป็นแบบเครือข่าย โดยมนุษย์จะมีรูปแบบการคิด (schema) บางอย่างเก็บไว้ในความจำซึ่งสามารถถูกกระตุ้นได้โดยสิ่งกระตุ้นบางอย่าง โดยที่คน ๆ นั้นอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้ ส่งผลให้สิ่งกระตุ้นบางอย่างอาจจะถูกตีความและกระตุ้นรูปแบบความคิดเกี่ยวกับความรุนแรงออกมาได้ทั้ง ๆ ที่ตัวสิ่งกระตุ้นนั้นก็เป็นเพียงสิ่งของ หรือสถานที่ทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น บางคนเพียงแค่เห็นภาพอาวุธปืน ก็อาจกระตุ้นให้เกิดความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นมาได้ เป็นต้น

10157224_503732576397430_731964104_n

แนวทางแก้ไขสำหรับผู้ปกครอง

1.เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ แต่ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนมากกว่า
2. เด็กโตไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ เกินวันละ 2 ชั่วโมง และควรดูเฉพาะรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพเท่านั้น
3. ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมอื่นๆแทน เช่น เล่นกีฬา งานอดิเรก อ่านหนังสืออ่านเล่น
4. ไม่ควรให้มีสื่อต่างๆไว้ในห้องนอน เพราะส่งผลให้เพิ่มเวลาการใช้สื่อมากขึ้น ให้วางไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของบ้าน และเป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว
5.ไม่เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ทั้งวัน และไม่เปิดโทรทัศน์ขณะทานอาหาร
6.ดูโทรทัศน์และใช้โปรแกรมต่างๆร่วมกับเด็ก ถือเป็นโอกาสในการเข้าถึงความคิดของเด็ก และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สอนว่าพฤติกรรมใดไม่เหมาะสมและพฤติกรรมใดที่ควรทำ
7.ติดโปรแกรมคัดกรองสื่อในคอมพิวเตอร์ เลือกเกมส์ ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับอายุเด็ก
8.มีกฏในการใช้สื่อที่ชัดเจน และปฏิบัติตามนั้นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการใช้สื่อที่มากเกินไปได้
9.เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในการใช้สื่อต่างๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะไม่ได้ผลเลยหากตัวผู้ปกครองเองเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

บทความโดย หมอคลองหลวง จาก facebook สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

“ความล้มเหลวในวันนี้… นำไปสู่ความสำเร็จในวันหน้า”

ความล้มเหลวเป็นของที่ทุกคนล้วนไม่อยากเจอ

แต่หลายๆครั้ง เราไม่สามารถทำให้ตนเองประสบความสำเร็จได้ตลอดเวลา เพราะมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่เราควบคุมไม่ได้

ดังนั้นเมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ่น ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลว  เรื่องการงาน เรื่องการเรียน เรื่องความรัก  หรือ เรื่องอื่นๆ ฯลฯ

แม้เราไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะทำอย่างไรต่อไป ตรงนี้สำคัญกว่า

เพราะ ไม่มีใครอยากอยู่กับความล้มเหลวไปตลอดชีวิต

แล้วเราจะเปลี่ยนจาก”ความล้มเหลว” ไปสู่ “ความสำเร็จ” ได้อย่างไร ลองดูกันนะคะ

ความสำเร็จ ความล้มหลว

1.ทบทวนความล้มเหลวนั้น

การเรียนรู้จากอดีต เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก
เพราะความล้มเหลวไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ

มันมีที่มา  มันมีต้นทางของมันอยู่

เราควรกลับไป “เข้าใจ” ต้นทาง ที่นำมาสู่ความล้มเหลว และเรียนรู้จากมัน

เรียนรู้ว่า ครั้งนั้น
1. เราได้ทำอะไรลงไป
2. เราครั้งนั้นคิดอย่างไร……ถึงทำแบบนั้น
3. เราครั้งนั้นรู้สึกอย่างไร……ถึงทำแบบนั้น

ถ้าเราเข้าใจต้นทางที่มาของมัน เราจะเริ่มรู้ว่า ความล้มเหลวครั้งนี้เกิดจากอะไร ผิดพลาดที่ตรงไหน เพราะ หลายครั้งคนเราจะรู้ “ทางถูก” ได้ ต้องรู้ว่าทางไหน “ผิด” ก่อนนะคะ

2. กลับมาดูแลใจตัวเอง ว่ากำลังจมทุกข์อยู่หรือเปล่า ?

ขั้นตอนนี้สำคัญมากอีกเช่นกันค่ะ

เพราะการปล่อยใจจมจ่อมกับความทุกข์ มีแต่บั่นทอน(ใจ)ตัวเองเปล่าๆ  เหมือนเราตัดกำลังตัวเอง แต่ก็อย่าปฏิเสธความทุกข์  เพราะความทุกข์ ความผิดหวัง เสียใจ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา

การปฏิเสธความทุกข์จะยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก

ยอมรับความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นจึงดีที่สุดแต่อย่าจมจ่อมกับมัน  เพราะการจมจ่อมกับมัน มีแต่ทำร้ายตัวเองไปวันๆ โดยใช่เหตุค่ะ

“ไม่มีใครเป็นศัตรูกับเราได้ เท่ากับตัวเราเอง”

เลิกตำหนิตัวเอง  เลิกตำหนิคนอื่น

เปลี่ยนจาก “การตำหนิ” เป็น “ความเข้าใจ” ……. เป็น “การยอมรับ”

ความรู้สึกที่”เข้าใจ” และ “ยอมรับ” จะเป็นพลังด้านบวก ช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดีค่ะ

3. หาศักยภาพที่เรามี

กลับมามองตัวเอง  มองอย่างยุติธรรมด้วยนะคะ

ว่าเรามี “ข้อดี” อะไรบ้าง เรามี “ศักยภาพ” ตรงไหนบ้าง  เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเริ่มจากสิ่งที่เราถนัด

ค่อยๆ มอง  อย่าด่วนตัดสินตนเองว่าเราไม่มีดี  เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ

มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้วนะคะ มีในแบบของตน เฉพาะตน (uniqueness) ศักยภาพของเราจึงไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร และนั่นแหละคือเอกลักษณ์

สำคัญคือ การหาให้เจอ และ เริ่มจากสิ่งนั้นค่ะ

4. ทำให้แตกต่างจากเดิม

ถ้าพิจารณาแล้วว่า วิธีเดิมไม่เวอร์ค ก็เปลี่ยนมันซะ !!   ตรงนี้สำคัญมาก เพราะบางคนยึดติดมาก

“ความเชื่อมั่น” กับ “ความหลงตัวเอง” มันใกล้กันนิดเดียว

ลองพิจารณาดีๆนะคะ  ถ้าจุดไหนไม่เวอร์ค….   ลดทิฐิลงแล้วปรับเปลี่ยนให้มันดีขึ้น จะเป็นประโยชน์กว่าค่ะ

5. ถามใจ…ตัวเอง

ข้อนี้สำคัญที่สุด ว่า “เรารักสิ่งนั้นไหม”

ถ้าถามตัวเองแล้วพบว่า…. เราไม่รัก ในสิ่งนั้น สิ่งนั้นอาจไม่ใช่คำตอบจริงๆ โอกาสที่จะสำเร็จจะยากขึ้นไปอีกค่ะ

ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นอาจเป็นสิ่งดี เพราะมันกำลังส่งสัญญาณบอกเราว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับเรา” เพราะ เราไม่ได้รักในสิ่งนี้ ผลจึงออกมาแบบนี้

จากนั้นลองถามใจ ตัวเองต่อไปอีกนิดนะคะ ว่าแล้ว เราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร?  แล้วเราลองค้นใจต่อไป ว่าเราชอบอะไรกันแน่…

แต่ถ้าคำตอบบอกออกมาว่า ใช่….เรารักสิ่งนั้น ความรักจะทำให้เรามีพลังสู้ต่อไปค่ะ  เพราะความรักในสิ่งที่ทำ  จะทำให้ “เรามีความสุข”
ซึงมีคุณค่ามากกว่าแค่การประสบความสำเร็จอีกนะคะ

*** ดังนั้นความล้มเหลว ไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ ***

“ความล้มเหลว” เป็น “ของขวัญ” ที่โชคชะตาประทานมา  แม้ว่าจะห่อมาไม่สวย แต่ข้างในเป็นของที่มีค่ายิ่ง ทำให้เรารู้จัก เข้าใจ ตนเองมากขึ้น
ทำให้เรารู้จัก เข้าใจ โลกใบนี้มากขึ้น  ขอเพียงเรา “เปิดใจ” “เข้าใจ” “เรียนรู้” จากมัน  และ “ยอมรับ” มัน  เราจะพบคุณค่าของสิ่งนี้ ของของขวัญชิ้นนี้ และสิ่งนี้จะเป็นต้นทางที่นำเราไปความสำเร็จค่ะ

…..ความล้มเหลวกับความสำเร็จ จึงใกล้กันนิดเดียว…..

ขอเพียงเรารู้จักนำโอกาสที่ได้เรียนรู้จากความล้มเหลว….มาเป็นบันไดอีกขั้นหนึ่ง ที่นำพาเราไปสู่ความสำเร็จค่ะ

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  รพ. รามาธิบดี
เครดิตภาพ : http://www.doyourwill.co.th/room-of-md-idea